มีนาคม 22, 2025

Blog

ด้วงหนวดยาว ศัตรูพืชตัวร้ายที่คอยเจาะลำต้น พืชผลของคุณ

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

Last Updated on มกราคม 6, 2025 by admin

ด้วงหนวดยาว หรือ Batocera rufomaculata อีก 1 ศัตรูพืชตัวฉกาจ โดยเฉพาะกับ ผู้ปลูก ทุเรียน ขนุน มะม่วง รวมถึงไม้ป่าอย่างลำพูและลำแพน เนื่องจากมันสามารถสร้างความเสียหาย ด้วยการเจาะลำต้น ได้อย่างรวดเร็ว และยาวนาว เนื่องจากมันมี อายุขัยเฉลี่ย ยาวถึงราวๆ 300 วัน

ลักษณะของด้วงหนวดยาว

ด้วงชนิดนี้ เมื่อตัวเต็มวัย จะมีความยาวประมาณ 49-56 มม. มีสีน้ำตาล ส่วนด้านบนของปีก มีจุดสีเหลือง
มี ทั้ง 2 เพศ ตัวเมียมีหนวดยาวเท่าๆกับขนาดลำตัวของตัวมันเอง ตัวเมียมีอายุไข เฉลี่ย 4-6 เดือน และมักจะวางไข่ในช่วงเวลากลางคืน ไข่ของด้วงชนิดนี้ มีลักษณะ คล้ายเม็ดข้าวสาร ตัวเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ถึง 200 ฟอง ในช่วงชีวิต
ตัวเต็มวัย: มีสีน้ำตาล มีจุดสีส้มหรือสีเหลืองกระจายอยู่ทั่วปีก เพศผู้มีหนวดยาวกว่าลำตัว เพศเมียหนวดเท่ากับหรือสั้นกว่าลำตัว ตัวเต็มวัยมีอายุได้นานกว่า 6 เดือน
ไข่: มีลักษณะคล้ายเมล็ดข้าวสาร สีขาวขุ่น มักถูกวางไว้ใต้เปลือกไม้ที่ตัวเมียกัดไว้และกลบด้วยขุยไม้ ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 15 ฟองต่อตัว
หนอน: มีสีขาวครีม ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชอยู่ใต้เปลือกไม้ และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอก ทำให้ต้นพืชอ่อนแอ ทรุดโทรม และอาจถึงตายได้ หนอนสามารถควั่นรอบต้น ทำลายท่อลำเลียงน้ำและอาหาร

วงจรชีวิต

ด้วงหนวดยาวผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลากลางคืน ตัวเมียใช้ปากที่มีเขี้ยวแข็งแรงกัดเปลือกไม้เพื่อวางไข่และกลบด้วยขุยไม้ มักวางไข่ซ้ำบนต้นเดิม ไข่จะฟักเป็นหนอน หนอนจะกัดกินอยู่ใต้เปลือกไม้เป็นระยะเวลานาน ก่อนจะเข้าดักแด้และฟักออกมาเป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตของด้วงหนวดยาวค่อนข้างนาน ทำให้สามารถพบไข่และหนอนในระยะต่างๆ กันได้ในต้นเดียวกัน

ลักษณะการเข้าทำลาย

ตัวเต็มวัย จะกัดกินเปลือกของลำต้น หรือ บริเวณกิ่งที่มีขนาดใหญ่ ส่วนของต้นที่ถูกด้วงชนิดนี้กัดกิน จะกลายเป็นโพรง ซึ่งก็จะกลายเป็นที่วางไข่ของตัวเมียในเวลาต่อมา ต้นที่ถูกด้วงหนวดยาวเจาะลำต้น จะส่งผลให้ ท่อน้ำเลี้ยงถูกทำลายไปด้วย และจะค่อยๆโทรมลงเรื่อยๆ จนยืนต้นตายในที่สุด

แนวทาง การจัดการสวน และการป้องกัน ด้วงหนวดยาว

1 วางกับดักแสงไฟ ในช่วงเวลา 1 ทุ่ม หรือ 19.00 น.เป็นต้นไป
2 ใช้ตาข่ายถี่ๆ พันหลวมๆ พันไว้ที่บริเวณรอบลำต้น เพื่อป้องกันการวางไข่
3 ตัดโค่น ต้นที่ถูก ด้วงชนิดนี้เข้าทำลายอย่างรุนแรง เกินกว่าจะรักษา เพื่อทำลายไข่ที่ถูกวางทิ้งไว้ในบริเวณที่ถูกเจาะทำลาย และลดการระบาด
4 หมั่นตรวจตรา สวนของท่านอยู่เสมอ หากพบร่องรอย ของการเจาะทำลาย จะได้ป้องกันแก้ไขได้ทัน

ใช้สารชีวภัณฑ์ ชนิดไหนดีในการป้องกัน?

ในปัจจุบัน สารชีวภัณฑ์ ที่ได้รับความนิยม ในการป้องกัน กำจัด ด้วงหนวดยาว ก็ได้แก่ บิวเวอร์เรีย และเมธาไรเซียม
ซึ่งควรใช้ ตั้งแต่ในช่วง ที่ยังไม่เกิดการระบาดรุนแรง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด

สารเคมีที่นิยมใช้ในการกำจัด

ในกรณีที่การระบาดรุนแรง จน สารชีวภัณฑ์เอาไม่อยู่
สารเคมี ที่มีฤทธิ์ รุนแรง จึงอาจจะต้องเป็นทางเลือกสุดท้าย ตัวอย่างสารเคมี ที่สามารถนำมาใช้กำจัดด้วงชนิดนี้ก็ได้แก่

อิมิดาโคลพริด (Imidacloprid): เป็นสารเคมีประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง
ไทอะมีทอกแซม (Thiamethoxam): เป็นสารเคมีประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์คล้ายกับอิมิดาโคลพริด
แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน (Lambda-cyhalothrin): เป็นสารเคมีประเภทไพรีทรอยด์ ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง
ไซเพอร์เมทริน (Cypermethrin): เป็นสารเคมีประเภทไพรีทรอยด์ ออกฤทธิ์คล้ายกับแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน

การป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยการจัดการแบบผสมผสานและการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง หากพบการระบาดควรรีบดำเนินการควบคุมทันที เพื่อลดความเสียหายต่อพืชผลของท่าน

กำลังมองหา ตัวช่วยดีๆ ในการกำจัดด้วงหนวดยาวอยู่รึเปล่า? สั่งซื้อได้ที่นี่เลย
ที่ร้าน lucky worm เรามีทั้ง ชีวภัณฑ์ ออแกนิค ที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช และสารเคมีที่ใช้กำจัดแมลง
เรามีใบอนุญาติขาย เคมีเกษตร ถูกต้องตามกฎหมาย ออกโดย กรมวิชาการเกษตร

ชีวภัณฑ์ ออแกนิค

สารเคมีกำจัดแมลง

หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ

เพิ่มเพื่อน

error: Content is protected !!