เมษายน 27, 2024

Blog

รู้จักกับ เพลี้ยหอยทุเรียน และวิธีป้องกันกำจัด

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

เพลี้ยหอยที่พบเจอในทุเรียน สามารถระบาดได้ ทุกเดือน ทุกช่วงของปี และระบาดได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต
เพลี้ยหอยทุเรียนจะทำความเสียหายแก่ทุเรียนด้วยการ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณ ใบ กิ่ง ตา หรือ ขั้วผล
การระบาดของเพลี้ยหอยในทุเรียน มักจะระบาดเป็นกลุ่มๆ เนื่องจากแมลงชนิดนี้สามารถเคลื่อนไหวได้ ในระยะ
ที่ยังเป็นตัวอ่อนเท่านั้น หลังจากเจริญเติบโต ไป จากระยะตัวอ่อน ขาจะหดลง จนไม่สามารถ เคลื่อนไหวได้อีก การระบาดจะสามารถเห็นเพลี้ยชนิดนี้ปกคลุม ไปทั่วทั้งใบ กิ่ง หรือ ขั้วผล
ส่งผลให้ ต้นทุเรียนไม่สามารถทำการสังเคราะห์แสงได้ นอกจากนี้น้ำเลี้ยงก็จะถูกเพลี้ย ดูดกินออกไปอีกด้วย
เพลี้ยชนิดนี้ ลักษณะคล้ายคลึงกับ เพลี้ยหอยที่เจอในมะม่วงมาก เนื่องจากอยู่ในสกุลเดียวกัน

ลักษณะทางกายภาพ

ตัวเมียจะมีแผ่นปกคลุมลำตัวสีขาวขุ่น ตัวค่อนข้างกลม ลำตัวยาว 1.3-2 มม ส่วนตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่า
เพลี้ยชนิดนี้ สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ วงจรชีวิตอยู่ที่ประมาณ 35-40 วัน ต่อรุ่น 4-5 รุ่นต่อปี และสามารถ
พบเจอได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย

การป้องกันกำจัด

1 หากพบเพลี้ยหอยทุเรียนระบาด ในช่วงเริ่มต้น หรือ พบในปริมาณที่ไม่มากนัก ให้รีบ ตัดส่วนที่ถูกทำลาย
แยกไปเผาทิ้ง
2 หากยังพบในปริมาณน้อย สามารถใช้ ไวท์ออยล์ ผสมกับน้ำ ด้วยอัตราส่วน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น
ให้ทั่ว
3 หมั่นฉีดพ่น สารชีวภัณท์ เช่น บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม ซึ่งสามารถใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช ในระยะที่การระบาด
ยังไม่รุนแรงมาก ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังใช้งานง่านและปลอดภัย
4 หาก การระบาดรุนแรง หรือ ต้องการกำจัด เพลี้ยหอยในทุเรียนอย่างเร่งด่วน อาจพิจารณา ใช้สารเคมี
เข้าควบคุม สารเคมี ที่นิยมใช้กำจัดเพลี้ยชนิดนี้ และได้ผลดี ได้แก่ ไทอะมีทอกแซม หรือ อิมิดาโคลพริด เป็นต้น

กำลังมองหา ตัวช่วยดีๆ ในการกำจัดเพลี้ยอยู่รึเปล่า? สั่งซื้อได้ที่นี่เลย
ที่ร้าน lucky worm เรามีทั้ง ชีวภัณฑ์ ออแกนิค ที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช และสารเคมีที่ใช้กำจัดแมลง
เรามีใบอนุญาติขาย เคมีเกษตร ถูกต้องตามกฎหมาย ออกโดย กรมวิชาการเกษตร

หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ

เพิ่มเพื่อน

error: Content is protected !!