Last Updated on มกราคม 24, 2025 by admin
ด้วงหมัดผัก หรือ หมัดกระโดด หรือ ตัวกระเจ้า เป็นอีกหนึ่งศัตรูพืชประเภทแมลงปีกแข็ง ตัวฉกาจ สำหรับเกษตรกร ที่ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ ระบาดมากที่สุดในช่วงฤดูหนาว
ด้วงชนิดนี้ สามารถเข้าทำลาย พืชตระกูลกะหล่ำ ได้ทุกชนิด โดยเฉพาะ ผักกวางตุ้ง ผักกาดหัว ผักกาดขาวปลี และคะน้า โดยตัวเมีย จะวางไข่บริเวณโคนต้นพืช เส้นกลางพืช และตามพื้นดิน เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอน จะมุดลงในดิน เพื่อกัดกินบริเวณโคนต้น และรากของพืช ทำให้พืช หยุดชะงักการเจริญเติบโต ไม่สามารถโตได้เต็มที่ และอาจตายได้ ตัวเต็มวัย ชอบกัดกิน ผิวด้านล่างของใบ ทำให้ใบเป็นรู ค่อนข้างกลม ขนาดใกล้เคียงกัน
หากเกิดการระบาดหนัก จะทำให้ใบ เป็นรูทั่วแทบทั้งใบ โดย ด้วงอาจกัดกินไปถึงช่วงลำต้น และกลีบดอกอีกด้วย
ด้วงชนิดนี้ ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตัวเต็มวัย เมื่อตกใจ หรือ ถูกรบกวน จะกระโดดหนี ซึ่งสามารถกระโดดได้ไกล
ด้วงหมัดผัก จะคอยอาศัยอยู่รอบๆแปลงปลูก
ซึ่งมีวัชพืช ที่ด้วงชนิดนี้ สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ เช่น ผักเสี้ยน ผักเบี้ยหิน ผักบุ้งนา
เมื่อถึงฤดูเพาะปลูก ก็จะอพยพเข้ามา อาศัยในแปลงปลูกผัก เมื่อสิ้นสุดฤดู ด้วงเหล่านี้ก็จะอพยพกลับ
ไปอยู่ตามวัชพืช และใช้เป็นแหล่งอาหารแทน และจะกลับมาอีก เมื่อ ถึงฤดูเพาะปลูกครั้งต่อไป
ลักษณะของด้วงหมัดผัก
- ขนาดเล็ก: ตัวเต็มวัยมีขนาดเล็กมาก ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ทำให้สังเกตได้ยาก
- ปีก: มีปีกคู่หน้าแข็งเป็นมัน สีแตกต่างกันไปตามชนิด เช่น สีดำ สีน้ำเงินเข้ม หรือสีเหลืองแถบน้ำตาล
- ขาหลัง: ขาคู่หลังมีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าขาคู่อื่นๆ ใช้สำหรับกระโดดได้ไกล ทำให้เป็นที่มาของชื่อ “หมัดผัก” หรือ “หมัดกระโดด”
- หนวด: หนวดเป็นแบบเส้นด้าย
- รูปร่าง: ลำตัวมีรูปร่างรี ยาว หรือรูปไข่ ขึ้นอยู่กับชนิด
- ตัวอ่อน (หนอน): มีลักษณะเป็นหนอนสีขาว ส่วนหัวและส่วนท้องปล้องแรกมีสีน้ำตาล อาศัยอยู่ในดิน
ชนิดของด้วงหมัดผักที่พบในประเทศไทย:
ในประเทศไทยพบด้วงหมัดผักหลายชนิด แต่ที่สำคัญและพบได้บ่อย ได้แก่
- ชนิดปีกเหลืองแถบน้ำตาล (Phyllotreta flexuosa): มีปีกคู่หน้าสีดำ มีแถบสีเหลืองพาดตามยาว
- ชนิดปีกดำหรือปีกสีน้ำเงินเข้ม (Phyllotreta chontanica): มีปีกคู่หน้าสีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม
วงจรชีวิตของด้วงหมัดผัก
วงจรชีวิตของด้วงหมัดผักประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ ไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย
- ระยะไข่: ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ บริเวณโคนต้นพืช เส้นกลางใบ หรือตามพื้นดิน ไข่มีขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้ายไข่ไก่ สีขาวอมเขียว ผิวเรียบเป็นมัน และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนก่อนฟักเป็นตัว ระยะไข่ใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน
- ระยะหนอน: เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวหนอน หนอนมีสีขาว ส่วนหัวและส่วนท้องปล้องแรกมีสีน้ำตาล หนอนอาศัยอยู่ในดิน กัดกินรากและโคนต้นพืช ทำให้พืชเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต ระยะหนอนใช้เวลาประมาณ 10-14 วัน
- ระยะดักแด้: หนอนจะเข้าดักแด้ในดิน ดักแด้มีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่มีปีกและขาที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่ ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน
- ระยะตัวเต็มวัย: ตัวเต็มวัยจะออกจากดักแด้และเริ่มกินใบพืช ตัวเต็มวัยสามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง และเพศเมียแต่ละตัวสามารถวางไข่ได้ 80-200 ฟอง ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 30-60 วัน
การเข้าทำลายของด้วงหมัดผัก:
ด้วงหมัดผักเข้าทำลายพืชทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย
- ตัวอ่อน: ตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในดิน กัดกินหรือชอนไชเข้าไปกินบริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้ผักเหี่ยวเฉา ไม่เจริญเติบโต และอาจตายได้หากรากถูกทำลายมาก
- ตัวเต็มวัย: ตัวเต็มวัยจะกัดกินใบพืช ทำให้ใบมีรูพรุนคล้ายถูกกระสุนยิง (shot-hole damage) นอกจากนี้ยังอาจกัดกินลำต้นและกลีบดอก ทำให้พืชได้รับความเสียหาย
แนวทางการป้องกัน กำจัด ด้วงหมัดผัก
1 ใช้วิธีเขตกรรม ด้วยการ ไถตากดินเอาไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนเริ่มเพราะปลูกรอบใหม่ เพื่อลดปริมาณ
ของด้วง วิธีนี้จะช่วย ทำลายตัวอ่อน และดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน ทั้งยังเป็นการช่วยลดการเกิดโรคอื่นๆ
ในแปลงเพาะปลูกอีกด้วย
2 หมั่นกำจัดวัชพืช ในแปลงปลูก และบริเวณรอบๆแปลง เพื่อทำลายแหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัยของด้วง
เหล่านี้
3 ปลูกผักในพื้นที่ควบคุม เช่นภายในโรงเรือน และทำตาข่ายไนล่อนปกคลุมเอาไว้ โดยเลือกใช้ตาข่าย
ที่มีรูเล็ก จน ด้วงชนิดนี้ไม่สามารถลอดเข้าไปทำลาย ผักด้านในได้
4 ฉีดพ่น ด้วย น้ำหมักสมุนไพร ประเภทต่างๆ เช่น สะเดา หางไหล บอระเพ็ด
5 หากทำเกษตรอินทรีย์ และ ด้วง ยังไม่ระบาดรุนแรง ให้หมั่นฉีดพ่น ผักด้วย ชีวภัณฑ์ อย่าง บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม
ทุกอาทิตย์
6 หาก ทำเกษตรในเชิงพาณิชย์ หรือเกิดการระบาดรุนแรง อาจพิจารณาใช้สารเคมี เข้าควบคุม
สารเคมีที่นิยมใช้ในการกำจัด
1. กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (Synthetic Pyrethroids)
- ตัวอย่างสาร: ไซเพอร์เมทริน (Cypermethrin), เดลตาเมทริน (Deltamethrin), แลมบ์ดาไซฮาโลทริน (Lambda-cyhalothrin)
2. กลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ (Neonicotinoids)
- ตัวอย่างสาร: อิมิดาโคลพริด (Imidacloprid), ไทอะเมทอกแซม (Thiamethoxam), คลอไทอะนิดิน (Clothianidin)
3. กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphates)
- ตัวอย่างสาร: ไดเมโทเอต (Dimethoate), คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos), มาลาไทออน (Malathion)
ด้วงหมัดผักเป็นแมลงศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อพืชผักสำคัญหลายชนิด โดยการทำความเข้าใจลักษณะ วงจรชีวิต และพฤติกรรมการเข้าทำลายของด้วงหมัดผักจะช่วยให้สามารถติดตามและประเมินความรุนแรงของการระบาดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการวางแผนจัดการปัญหาในระยะยาว
กำลังมองหา ตัวช่วยดีๆ ในการกำจัดด้วงหมัดผักอยู่รึเปล่า? สั่งซื้อได้ที่นี่เลย
ที่ร้าน lucky worm เรามีทั้ง ชีวภัณฑ์ ออแกนิค ที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช และสารเคมีที่ใช้กำจัดแมลง
เรามีใบอนุญาติขาย เคมีเกษตร ถูกต้องตามกฎหมาย ออกโดย กรมวิชาการเกษตร
ชีวภัณฑ์
สารเคมีกำจัดแมลง
หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ