Last Updated on กุมภาพันธ์ 7, 2025 by admin
น้ำตาลทางด่วน ถือเป็น อีก 1 ฮอร์โมนพืช บางที่เรียก น้ำตาลเคมี หรือน้ำตาลทางใบ น้ำตาลทางด่วนจะมีส่วนผสมของ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือมอโนแซคคาไรด์ ซึ่งมีคุณสมบัติคือ การให้พลังงานแก่พืชได้โดยทันที เปรียบเทียบได้
กับเครื่องดื่มชูกำลังที่คนเราดื่ม ซึ่งมักจะทำให้เรารู้สึกสดชื่นกระปี้กระเป่า ขึ้นมาในทันที เช่นเดียวกับพืช
หากอยู่ในสภาวะที่ สภาพอากาศไม่ดี ต้นพืชโทรม การสังเคราะห์แสงไม่เพียงพอ การให้ “น้ำตาลทางด่วน” แก่พืช
ก็จะสามารถเพิ่มความสดชื่นให้กับพืชได้
น้ำตาลทางด่วน คืออะไร
น้ำตาลทางด่วน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลักคือกลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์พืชได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง ในภาวะที่พืชประสบกับความเครียดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น สภาวะแล้งหรือหลังจากน้ำท่วม ระบบสังเคราะห์แสงจะลดลง ทำให้พืชขาดพลังงานที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการสะสมแป้ง น้ำตาลชนิดนี้จึงถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานสำรองที่ช่วยให้พืชได้รับพลังงานทันทีหลังจากการฉีดพ่นผ่านทางใบ ส่งผลให้กระบวนการเมแทบอลิซึมของพืชสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังช่วยเสริมสร้างความหวานและคุณภาพของผลผลิตในแง่ของการสะสมคาร์โบไฮเดรตอย่างรวดเร็ว ด้วยคุณสมบัติที่สามารถทำงานได้อย่างเร่งด่วน ทำให้น้ำตาลทางด่วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลและฟื้นฟูสภาพพืชในช่วงเวลาที่พืชต้องการพลังงานเพิ่มเพื่อให้กลับมามีประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แบบ
ประโยชน์ของน้ำตาลทางด่วน
1 ให้พลังงานกับพืชโดยทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง
2 ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ช่วยกู้ต้นโทรม
3 ช่วยเตรียมต้นให้ แข็งแร็ง สมบูรณ์ พร้อมต่อ การผสมเกสร ออกดอก ติดผล และลดการ
หลุดร่วงของดอก และผล
4 ช่วยเพิ่มคุณภาพของผลผลิต เพิ่มขนาด น้ำหนักของผล เพิ่มความหวาน เร่งการเข้าสีของดอกและผล
5 ช่วยเพิ่มแหล่งสะสมแป้งและน้ำตาล ให้พืชใช้เป็นแหล่งพลังงาน โดยเฉพาะในดินที่เปรี้ยวหรือเค็มจัด
6 เพิ่มภูมิคุ้มกัน ต่อโรคและแมลง ให้กับพืช
7 ช่วยเพิ่มความต้านทานให้กับพืช ต่อสภาวะแวดล้อม หรือ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
8 ช่วยกู้ต้นโทรม หลังจากพืชผ่าน อากาศ ร้อน หนาว จัด หรือ ฝนตกหนัก น้ำท่วมขัง
น้ำตาลทางด่วน ใช้ตอนไหน
- ช่วงฟื้นตัวหลังจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย
- ช่วงที่พืชเริ่มมีการแตกใบอ่อนหรือในช่วงที่ต้องเร่งการสะสมแป้งและน้ำตาลเพื่อส่งเสริมการออกดอกและติดผล
- การฉีดพ่นควรทำในช่วงเวลาที่พืชสามารถดูดซึมได้ดี เช่น ตอนเช้าหรือตอนเย็น เพื่อลดการระเหยของน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมผ่านทางใบ
ตัวอย่างการใช้น้ำตาลทางด่วนกับพืชบางชนิด:
กล้วยไม้: พ่นทางใบด้วยสารละลายน้ำตาลกลูโคส 0.5% ทุกๆ 1-2 สัปดาห์ เพื่อบำรุงต้น ส่งเสริมการออกดอก และให้ดอกมีสีสันสดใส
ข้าว: พ่นทางใบด้วยสารละลายน้ำตาลกลูโคส 1-2% ในระยะแตกกอ และระยะออกรวง เพื่อเพิ่มการแตกกอ เพิ่มน้ำหนักรวง และเพิ่มผลผลิตข้าว
ข้าวโพด: พ่นทางใบด้วยสารละลายน้ำตาลซูโครส 1-2% ในระยะก่อนออกดอก และระยะหลังผสมเกสร เพื่อเพิ่มความหวานของฝักข้าวโพด และเพิ่มผลผลิต
ผัก: พ่นทางใบด้วยสารละลายน้ำตาลกลูโคส 0.5-1% ทุกๆ 7-10 วัน เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้น เพิ่มความหวานและคุณภาพของผัก
ไม้ผล: พ่นทางใบด้วยสารละลายน้ำตาลซูโครส 1-2% ในช่วงติดผล และช่วงก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มขนาดผล เพิ่มความหวาน และคุณภาพของผลไม้
ข้อควรระวังในการใช้น้ำตาลทางด่วน
ไม่ควรฉีดพ่นให้กับพืช ในช่วงที่ เกิดเชื้อราระบาดโดยเด็ดขาด
เนื่องจาก น้ำตาลชนิดนี้นอกจากจะเป็นอาหารให้กับพืชแล้ว เชื้อราก็ใช้เป็นอาหาร
ในการเจริญเติบโต และแพร่พันธุ์ได้เช่นกัน
แต่หากจำเป็นต้องฉีดพ่นจริงๆ ก็ควรจะต้อง ผสมสารกำจัดเชื้อราเข้าไป ตอนฉีดพ่นด้วย
การฉีดพ่นน้ำตาลชนิดนี้ ไม่ควรทำในเวลาที่ ความชื้นในอากาศสูง และฉีดพ่นที่บริเวณใบ
ของพืชเท่านั้น ไม่ควร ฉีดในที่ที่เป็นมุมอับ ไม่มีแสงแดดส่องถึง เพราะจะกลายเป็น
แหล่งอาหารอย่างดี ของเชื้อรา และอาจส่งเห็นเสียตามมาทีหลังต่อพืชของท่าน
กำลังมองหา น้ำตาลทางด่วน ไปบำรุงพืชผลของท่าน อยู่รึเปล่า? สั่งซื้อได้ที่นี่เลย
สินค้าขึ้นทะเบียน ถูกต้องตามกฎหมายกับกรมวิชาการเกษตร
ทางร้านมีใบอนุญาติในการจำหน่ายค่ะ
หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ