Last Updated on มกราคม 6, 2025 by admin
รู้หรือไม่ว่า ผักกาดหอมแสนอร่อย ที่เป็นของโปรดของคนชอบทานผักนั้น ปลูกเองที่บ้านได้ไม่ยากเลย
นอกจาก จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เรื่องค่าอาหารแล้ว ยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และที่สำคัญ
ผักกาดหอมที่คุณปลูกเองกับมือนั้น คุณเองก็สามารถมั่นใจได้ว่า ปลอดภัยไร้สารเคมี และดูต่อสุขภาพจริงๆ
วันนี้ ผู้เขียน จะมา แนะนำ ขั้นตอนการปลูกผักกาดหอม ตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ดกันเลย อ่านจบแล้ว ปลูกได้แน่นอน
1 ขั้นตอนของการเตรียมดิน
ดินปลูกที่เหมาะสม จะช่วยให้การปลูก พืชผลอะไรก็แล้วแต่ เป็นเรื่องง่าย ผักกาดหอมก็เช่นกัน ดินที่นำมาปลูก
ควรจะมี ความร่วนซุย มีสารอาหารเพียงพอ มีโครงสร้างดินที่ดี ไม่เหนียวจับเป็นก้อนแข็ง มีค่า PH ที่เหมาะสม
หาก ท่านต้องการผสมดินปลูกเอง ก็ขอให้เลือกส่วนผสมให้ดี ท่านควรมีความรู้ ว่าส่วนผสมไหน ใส่ลงไป มีประโยชน์อะไร เช่น ขุยมะพร้าว ช่วยในการอุ้มน้ำ แกลบดิบแกลบดำ ช่วยให้ ดินร่วนซุย อย่าใส่ หลายๆอย่างลงไปมั่วๆ แล้วหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดี ถ้าหากท่าน ไม่อยากเสียเวลา ผสมดินเอง ก็ซื้อ ดินปลูกผสมสำเร็จ จากร้านค้าได้เลย ซึ่งจะมีสารอาหารผสมลงไปอยู่แล้ว หลังจาก เตรียมดินเสร็จแล้ว ให้นำดินปลูกมาเกลี่ยลงใน ถาดเพาะเมล็ด ( หาซื้อได้ทั่วไป จากร้านค้าเช่นกัน ) ให้เต็มทุกหลุม
2 เตรียมเมล็ดพันธุ์
การเลือกเมล็ดพันธุ์ ขอให้ เลือกซื้อจากร้านค้าที่ไว้ใจได้ ว่า สะอาด ไม่มีเชื้อโรค เชื้อรา ที่สำคัญ เมล็ดพันธุ์ต้องไม่เก่าเก็บจนเกินไป เพราะจะทำให้ การเพาะเมล็ดไม่ได้ผล จากนั้นให้ใช้ไม้ เจาะ รูเล็กๆ ลงตรงกลางหลุมในถาดเพาะ
เพื่อทำการหย่อนเมล็ดพันธุ์ลงไป รู ละ 2-3 เมล็ด ( กันเผื่อ บางเมล็ดไม่งอก ) จากนั้น รดน้ำลงในถาดเพาะ เพื่อให้ดินไหลลงไปกลบเมล็ดในหลุม
3 ระยะต้นกล้า
หลังจากผ่านไป 3-4 วัน เมล็ดพันธุ์ที่เพาะไว้ก็จะงอกขึ้นมาเป็นต้นกล้า ช่วงนี้ ท่านก็สามารถ นำถาดเพาะ ที่มีต้นอ่อนอยู่ ออกไปรับแสงแดดได้แล้ว โดยแสงแดด ในช่วง 6โมงเช้า ถึง 10 โมง จะเป็นช่วงที่มีแสงแดดพอเหมาะที่สุดสำหรับต้นกล้า หลังจาก ผ่านไป 2 อาทิตย์ ต้นกล้าของคุณ ก็พร้อม ที่จะย้ายจาก ถาดเพาะ ไปลงแปลงปลูก
4 ขั้นตอนการจัดการแปลงปลูก
ก่อนย้ายต้นกล้าลงในแปลงปลูก แนะนำให้ใช้ฟางมาคลุมให้ทั่วแปลงก่อน เพื่อทำเป็นหลุมไว้สำหรับต้นกล้า จากนั้นให้ใช้ มูลไส้เดือน โรยลงในหลุมทุกหลุม ทำแบบนี้แล้ว จะทำให้กล้าผักกาดหอม ได้รับสารอาหารโดยตรง การย้ายต้นกล้าจากถาดเพาะ มายังแปลงปลูกขอให้ใช้ความระมัดระวัง อย่าให้รากเสียหายโดยเด็ดขาด
5 การดูแล รดน้ำ-ให้ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ย แนะนำให้ ใช้มูลไส้เดือน เนื่องจาก มีฤทธิ์เย็น ใส่มากหน่อย ก็ไม่ทำให้รากไหม้ มีฮอร์โมนพืช และที่สำคัญไม่จำเป็นต้องใส่ในปริมาณเยอะ ใช้เพียงแค่ ต้นละ 150 กรัม โรยรอบโคนต้น ทุกๆ อาทิตย์ ก็เพียงพอ หลังจากใส่ปุ๋ยแล้ว อย่าลืม รดน้ำด้วยล่ะ ผักกาดหอม เป็นผักที่มีรากตื้น ไม่ลึก ดังนั้นอย่าลืม อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วง 2 อาทิตย์แรก
6 ได้เวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต
หลังจาก ผ่านไป 40-45 วัน ก็ได้เวลาที่คุณจะได้รับ ผลผลิตจากน้ำพักน้ำแรงของคุณ สำหรับผักกาดหอม
ไม่ควรจะปล่อยทิ้งไว้นานจนเกินไป เพราะจะทำให้เหี่ยว หรือมีรสชาติขม และแข็ง ไม่อร่อย ไม่น่ารับประทาน
ข้อมูลทั่วไปของผักกาดหอม
ผักกาดหอมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactuca sativa อยู่ในวงศ์ Asteraceae มีต้นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง มีการเพาะปลูกมานานกว่าพันปี ผักกาดหอมมีหลายประเภท ได้แก่
- ผักกาดหอมห่อ (Head lettuce): เช่น ผักกาดแก้ว (Iceberg lettuce) มีลักษณะเป็นหัวกลมแน่น ใบสีเขียวอ่อน กรอบ นิยมนำมาทำสลัด
- ผักกาดหอมใบ (Leaf lettuce): เช่น ผักกาดหอมแดง (Red leaf lettuce) ผักกาดหอมเขียว (Green leaf lettuce) มีลักษณะเป็นใบหลวมๆ ไม่ห่อหัว มีสีเขียวหรือแดง นิยมนำมาตกแต่งจานหรือทานกับเมนูอื่นๆ
- ผักกาดคอส (Cos lettuce หรือ Romaine lettuce): มีลักษณะเป็นทรงยาว ใบสีเขียวเข้ม กรอบ นิยมนำมาทำสลัดซีซาร์
- บัตเตอร์เฮด (Butterhead lettuce): มีลักษณะเป็นหัวหลวมๆ ใบมีลักษณะนุ่มคล้ายเนย
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
บำรุงสายตา: วิตามินเอในผักกาดหอมช่วยบำรุงสายตาและป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา
เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน: วิตามินซีช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ช่วยในการแข็งตัวของเลือด: วิตามินเคมีบทบาทสำคัญในการแข็งตัวของเลือด
บำรุงกระดูก: วิตามินเคและแร่ธาตุต่างๆ ในผักกาดหอมช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง
ช่วยในระบบขับถ่าย: ใยอาหารในผักกาดหอมช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายและป้องกันอาการท้องผูก ควบคุมความดันโลหิต: โพแทสเซียมในผักกาดหอมช่วยควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ
ช่วยลดน้ำหนัก: ผักกาดหอมมีแคลอรี่ต่ำและมีใยอาหารสูง ทำให้อิ่มนานและช่วยควบคุมน้ำหนัก
วิธีนำไปประกอบอาหาร
ผักกาดหอมสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น
- สลัด: เป็นเมนูที่นิยมที่สุด สามารถนำผักกาดหอมมาทานกับน้ำสลัดต่างๆ
- แซนวิช: ใช้เป็นส่วนประกอบในแซนวิช
- ห่อเมี่ยง: ใช้ห่อไส้เมี่ยง
- ทานกับอาหารประเภทย่าง: ใช้ทานกับหมูย่าง เนื้อย่าง หรืออาหารทะเล
- ตกแต่งจาน: ใช้ตกแต่งจานอาหารให้น่ารับประทาน
จะเห็นได้ว่า การปลูกผักกาดหอม เอาไว้ทานเอง ที่บ้านไม่ใช่เรื่องยุ่งยากซับซ้อนอะไรเลย
แล้วอย่าลืมว่า การปลูกพืชผักทุกชนิด จำเป็นจะต้องมี สารอาหารที่เพียงพอให้พืชใช้ในการเจริญเติบโต
แต่จะให้ใช้สารเคมี สำหรับ ผักที่ปลูกไว้ทานเอง กับครอบครัวก็กะไรอยู่
เราขอแนะนำ มูลไส้เดือน ซึ่งเป็น ปุ๋ยออร์แกนิค จากธรรมชาติ ไว้ให้คุณปลูกผักปลอดสารพิษได้ง่ายๆ
สั่งซื้อได้ที่นี่เลย
หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ