เชื้อรา ที่สามารถทำลาย ผลผลิตทุเรียน ของท่าน ไม่ได้มี เพียง ไฟทอปธอร่า เท่านั้น แต่ยังมีเชื้อรา อีกหลายชนิด ที่
สร้างความปวดหัว ให้กับ เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนได้ไม่แพ้กัน
ราชมพู ที่เกิดจาก เชื้อรา คอร์ติเซียม ( Corticium )
มักจะแพร่ระบาด ในช่วงหน้าฝน ที่มีความชื้นสูง เช่น สวนทุเรียน ทางภาคใต้ของประเทศไทย หากปล่อยเอาไว้ เชื้อราประเภทนี้ สามารถลุกลาม แพร่กระจาย สร้างความเสียหายแก่สวนทุเรียนได้อย่างมหาศาล ยิ่งไปกว่านั้น เชื้อรา คอร์ติเซียมไม่ได้ทำลายผลผลิตเฉพาะ ทุเรียน เท่านั้น แต่ยังสามารถ ทำลาย ส้ม มะม่วง ลองกอง และอื่นๆอีกด้วย
อาการโรค ราสีชมพู
1 ต้นที่เป็นโรค จะมีอาการใบเหลืองเป็น หย่อมๆ คล้ายเชื้อไฟทอปธาร่า
2 เส้นใยเชื้อรา จะกลายเป็นสีชมพูอ่อน เมื่อเชื้อราชนิดนี้แก่ตัวแล้ว
3 เมื่อถากดูกิ่งที่ถูกเชื้อราปกคลุมจะเห็นว่า เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาล เนื่องจากถูกเชื้อราทำลายท่ออาหาร
4 ส่วนที่เห็นบ่อย คือ กิ่ง ง่ามกิ่ง และ ลำต้น
การแพร่ระบาด
พบได้บ่อยในฤดูฝน และมักเกิดกับต้นทุเรียนที่ไม่ได้รับการดูแล
ราดำ ที่เกิดจาก เชื้อรา Polychaeton , Tripospermum
มักแพร่ระบาดใน พื้นที่ที่ฝนตกชุก มีความชื้นสูงเช่นภาคใต้ และในช่วงที่แมลงปากดูดระบาด เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย
เนื่องจาก มูลของสัตว์เหล่านี้ คือแหล่งเกิดราดำ
อาการโรค ราดำ
1 พรบคราบสีดำของเชื้อรา ติดอยู่ตามส่วนใบทุเรียน ,กิ่ง หรือในบางครั้งพบที่ผลทุเรียน
2เมื่อถูกราดำปกคลุม จะทำให้ใบของทุเรียน สังเคราะห์แสงได้น้อย ทำให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้น้อยไปด้วย
การแพร่ระบาด
เกิดจาก แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง
ราแป้ง ที่เกิดจาก เชื้อรา ออยเดียม ( Oidium )
ราแป้งนั้น สามารถทำลายทุเรียน ได้ตั้งแต่ยังเป็นผลอ่อน จนกระทั่งผลแก่ ถ้าติดตอนช่วงผลอ่อน จะทำให้ผลอ่อนร่วง
ถ้าติดตอนผลแก่ จะทำให้สีผิวของเปลือกทุเรียนผิดปกติ และหนามทุเรียนเป็นรอยปริแตก ทำให้ผลผลิตไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
อาการโรคราแป้ง
หากต้นทุเรียน ถูกเชื้อราชนิดนี้เข้าทำลาย ตั้งแต่ช่วงช่อดอก จะสังเกตเห็น กลุ่มเชื้อราสีขาวซึ่งมีลักษณะคล้ายฝุ่นแป้ง ปกคลุมกลีบดอกและผลอ่อน อยู่บริเวณใต้ใบ หรือ บริเวณปุ่มหนามของทุเรียน
การแพร่ระบาด
ราแป้งมักระบาดในช่วงที่อากาศแห้งแล้ง และอากาศเย็น สามารถปลิวไปกับลม หรือ น้ำก็ได้
การจัดการสวนทุเรียน เพื่อป้องกัน เชื้อรา ทุกชนิด
1 ตัดแต่ง ทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเท
2 ไม่ควรปลูกต้นทุเรียนชิดกันมากเกินไป ควรเว้นระยะห่างพอสมควร
3 ในช่วงหน้าฝน ป้องกัน เชื้อรา ด้วย ชีวภัณฑ์ อย่างไตรโคเดอร์มา ด้วยการพ่น ทรงพุ่มทุก 7-15 วัน
เพื่อป้องกัน หรือ ทุกๆ 3-7 วันเมื่อพบการระบาดของเชื้อรา
4 บำรุงต้นทุเรียนของท่านให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้ต้นทุเรียนของท่านมี ภูมิต้านทานต่อโรคพืช
5 หมั่นกำจัดวัชพืช ในบริเวณต้นทุเรียน
6 หมั่นตรวจตรา ศัตรูพืช ที่นำมาซึ่งเชื้อราอยู่เสมอๆ
7 ใช้สารที่มีกลิ่นฉุน เช่นน้ำส้มควันไม้ ในการป้องกัน กำจัดศัตรูพืช
ป้องกัน ปัญหาเชื้อรา น่าปวดหัว ในทุเรียนไว้ก่อนด้วย
ไตรโคเดอร์มา สั่งซื้อโทร 095-5419953
หรือ แอดไลน์ @luckyworm
หรือ