Last Updated on มกราคม 9, 2025 by admin
หนอนกระทู้ผัก เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน ขนาดกลาง เป็นแมลงศัตรูพืชอีกชนิด ที่สร้างความเสียหาย
ให้กับผลผลิตของเกษตกร และผลผลิตของประเทศ ได้มหาศาล พืชที่ตกเป็นเหยื่อของ หนอนกระทู้ผัก
ก็ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง หอมแดง พริกข้าว โพด องุ่น กระเจี๊ยบ พืชตระกูล กะหล่ำทั้งหลาย
อย่าง กะหล่ำดอก ผักกาดขาวปลี หรือแม้กระทั่ง ไม้ดอก อย่าง กุหลาบหรือ
กล้วยไม้ก็โดนเล่นงานได้เช่นกัน
ลักษณะ
ตัวเต็มวัย: เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก ปีกคู่หน้ามีสีน้ำตาลอ่อน เทา ดำ และขาวสลับกัน ปีกคู่หลังเป็นสีขาวนวล ขอบปีกมีขนสีน้ำตาลอ่อน เมื่อหุบปีกจะมีลักษณะคล้ายหลังคา กลางวันจะเกาะนิ่งๆ ในที่มืดหรือใต้ใบพืช จะเริ่มบินออกหากินในเวลากลางคืน
ไข่: วางไข่เป็นกลุ่มใต้ใบพืช มีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีฟางข้าวปกคลุม
หนอน: ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ๆ จะมีสีเขียวอ่อนหรือสีนวล อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แทะกินผิวใบเหลือแต่เส้นใบ เมื่อผิวใบแห้งจะเห็นเป็นสีขาวๆ หนอนโตเต็มที่มีขนาด 3.5-4 เซนติเมตร มีแถบสีดำที่คอ ลำตัวมีลายเส้นหรือจุดสีดำ ผิวลำตัวมีขีดดำตามยาว
ดักแด้: ดักแด้มีสีน้ำตาลเข้ม อยู่ในดิน
วงจรชีวิต
วงจรชีวิตของหนอนกระทู้ผักประกอบด้วย 4 ระยะ คือ ไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ระยะเวลาในแต่ละช่วงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิและความชื้น
- ไข่: ประมาณ 3-5 วัน
- หนอน: ประมาณ 14-21 วัน
- ดักแด้: ประมาณ 7-14 วัน
- ตัวเต็มวัย: ประมาณ 7-10 วัน
การเข้าทำลาย
ผีเสื้อกลางคืน จะวางไข่อยู่ด้านใต้ของใบ เมื่อหนอนฝักออกมาจากไข่ จะอยู่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม และคอยกัดกิน
ใบด้านล่าง จากนั้นพอเริ่มโตขึ้น ก็จะเพิ่มพื้นที่การกัดกิน ไปบริเวณอื่น การแพร่ระบาดของ หนอนกระทู้ผัก
เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว หากมี สภาวะอากาศที่เหมาะสม หรือ ถ้าหาก ผลผลิตของท่านปลูก ในพื้นที่ ที่ชิดกันมาก
การระบาดของ หนอนกระทู้ผักก็ยิ่งเป็นไปได้ง่าย การระบาด สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี
และมักพบการเข้าทำลายเป็น จุดๆหย่อมๆ ตามจุดที่ผีเสื้อกลางคืนตัวเมียมาวางไข่
การป้องกันและกำจัด
1 หมั่นปรับปรุง คุณภาพของดิน และความเป็นกรดเป็นด่าง หาก คุณภาพของดินไม่ดี ผลผลิตของท่านก็ย่อมมี
ความต้นทาน โรคและแมลง น้อยลง
2 การไถพรวนดิน ช่วยได้ เพื่อเป็นการลดไข่ของแมลง และทำลายดักแด้
3 ปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อตัดวงจรการระบาด
4 หมั่นสำรวจแปลงปลูกของท่าน อย่างน้อย อาทิตย์ละครั้ง เพื่อตรวจหา ไข่ของ หนอนกระทู้
หากพบเจอให้รีบทำลายทิ้งทันที
5 น้ำหมักชีวภาพ สูตร ที่ผสม สมุนไพร จากสะเดา สามารถป้องกันได้ในระดับนึง
6 หมั่นฉีด ชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อ บีที หรือ พวก เมธาไรเซียม เป็นประจำ ทุกๆ 7 วัน
7 เกษตรกร ที่ไม่ได้ทำเกษตรอินทรีย์ หากเกิดการระบาดรุนแรง อาจพิจาณา ใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง
ในการกำจัด หรือ ในกรณี ที่การระบาด รุนแรง จน น้ำหมักชีวภาณ หรือ ชีวภัณฑ์ เอาไม่อยู่
การใช้สารเคมีอาจเป็นทางเลือกสุดท้าย
สารเคมีที่นิยมในการใช้กำจัด
กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids): เช่น ไซเพอร์เมทริน (Cypermethrin), เดลทาเมทริน (Deltamethrin)
กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphates): เช่น โพรฟีโนฟอส (Profenofos)
กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamates): เช่น คาร์บาริล (Carbaryl)
กลุ่มอะเวอร์เม็กติน (Avermectins): เช่น อะบาเม็กติน (Abamectin), อีมาเม็กตินเบนโซเอต (Emamectin benzoate)
กลุ่มเบนโซอิลยูเรีย (Benzoylureas): เช่น ลูเฟนูรอน (Lufenuron)
เรื่องของศัตรูพืช นั้น ป้องกันไว้ ดีกว่า แก้ปัญหามาก ง่ายกว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า
ที่สำคัญ อย่าลืมว่า หากเกิดการระบาด ของหนอนกระทู้ผัก นอกจาก ท่านจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
ในการกำจัดแล้ว กำไรที่ได้ก็ยังลดลง จากผลผลิตที่เสียหาย อีกต่างหาก
เราขอแนะนำ ชีวภัณฑ์ ตัวเก่ง ที่พิสูจน์แล้ว ว่าใช้ กำจัด หนอนกระทู้ผัก อย่างได้ผล
ใช้ง่าย ไม่ต้องสวมเครื่องป้องกัน ไม่ทิ้งสารเคมีตกค้าง สั่งซื้อได้ที่ ด้านล่างเลย
สารเคมีกำจัดแมลง
หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ