Last Updated on มกราคม 7, 2025 by admin
หนอนกอข้าวเป็นแมลงศัตรูสำคัญของข้าวที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูนาปรัง
หนอนกอข้าว ที่พบในประเทศไทย มีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ หนอนกอแถบลายสีม่วง หนอนกอแถบลาย หนอนกอสีครีม หนอนกอสีชมพู หนอนกอเหล่านี้ เมื่อกลายเป็นตัวเต็มวัยจะกลายเป็นผีเสื้อกลางคืน ระยะที่เป็นหนอน ใช้เวลา 30-45วัน ซึ่งระยะนี้จะเป็นระยะที่ทำลายข้าวได้มากที่สุด
ช่วงไหน ที่หนอนกอข้าว มักระบาด?
หนอนกอข้าวสามารถระบาดได้ตลอดฤดูการเพาะปลูก แต่จะพบมากในช่วง:
นาปี: ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม
นาปรัง: ตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม และเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
ลักษณะการเข้าทำลาย
ตัวหนอนจะเจาะเข้าไปในกาบใบ ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาล เห็นเป็นรอยช้ำๆ เมื่อฉีกกาบใบดูจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะกัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก และใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา การทำลายในระยะข้าวแตกกอ ทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” (deadheart) คือ ใบอ่อนแห้งตาย ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวง จะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง และรวงข้าวมีสีขาว เรียกอาการนี้ว่า “ข้าวหัวหงอก” (whitehead)
วงจรชีวิตของหนอนชนิดนี้
คือจะอยู่ในไข่ 4-7 วัน จากนั้น จะกลายเป็นตัวหนอน ประมาณ 30-45วัน เป็นดักแด้ อีก 4-7วัน และกลายเป็น
ผีเสื้อกลางคืนหรือตัวเต็มวัยในที่สุด
วิธีสังเกตการระบาดของหนอนชนิดนี้
พบนกกระยาง มากเป็นพิเศษในที่นา เนื่องจาก นกเหล่านี้จะมาคอยกินหนอนพวกนี้ในนาข้าวนั่นเอง
หรือพบ ผีเสื้อกลางคืนในบริเวณนาข้าว ก็ให้เดาไว้เลยว่า นาข้างของท่าน อาจกำลังถูก หนอนกอข้าวเข้าทำลายแล้ว
วิธีป้องกันและกำจัด
การป้องกันกำจัดหนอนกอข้าวควรใช้วิธีผสมผสาน เพื่อลดการใช้สารเคมีและรักษาสมดุลของระบบนิเวศ โดยมีแนวทางดังนี้:
- การป้องกันก่อนการปลูก:
- ไถตอซัง: หลังการเก็บเกี่ยว ควรไถตอซัง ไขน้ำท่วม และไถดิน เพื่อทำลายหนอนและดักแด้ที่อยู่ในตอซัง หรือตากฟางข้าวให้แห้งหลังจากนวดข้าว
- เลือกพันธุ์ข้าว: ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานหนอนกอ หรือพันธุ์อายุเบา เพื่อลดจำนวนประชากรและการทำลาย
- จัดการน้ำ: ควบคุมระดับน้ำในนาข้าวให้เหมาะสม
- การป้องกันระหว่างการปลูก:
- สำรวจแปลงนา: หมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดในระยะเริ่มต้น ให้รีบดำเนินการป้องกันกำจัด
- ควบคุมปริมาณปุ๋ย: ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะจะทำให้ใบข้าวงาม เป็นที่ชอบของหนอนกอในการวางไข่
- ใช้ชีววิธี: ใช้ศัตรูธรรมชาติของหนอนกอ เช่น แตนเบียน แมลงหางหนีบ หรือเชื้อราบิวเวอเรีย
- การใช้สารเคมี (ใช้เมื่อจำเป็น):
หากพบการระบาดรุนแรง ควรพิจารณาใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง โดยเลือกใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด
สารเคมีที่นิยมใช้กำจัดหนอนกอข้าว
สารเคมีที่นิยมใช้ในการกำจัดหนอนกอข้าว ได้แก่:
- สารกลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate): เช่น คาร์โบฟูราน (Carbofuran)
- สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate): เช่น ฟอสโฟรอล (Phosphorol)
- สารกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid): เช่น ไซเพอร์เมทริน (Cypermethrin)
- สารกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ (Neonicotinoid): เช่น ไทอะมีทอกแซม (Thiamethoxam)
การป้องกันกำจัดหนอนกอข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องใช้วิธีการผสมผสาน ทั้งการป้องกันก่อนการปลูก ระหว่างการปลูก และการใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง เพื่อลดความเสียหายต่อผลผลิตและรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
เรื่องของศัตรูพืช นั้น ป้องกันไว้ ดีกว่า แก้ปัญหามาก ง่ายกว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า
ที่สำคัญ อย่าลืมว่า หากเกิดการระบาด เกิดขึ้น นอกจาก ท่านจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
ในการกำจัดแล้ว กำไรที่ได้ก็ยังลดลง จากผลผลิตที่เสียหาย อีกต่างหาก
กำลังมองหา ตัวช่วยดีๆ ในการกำจัดหนอนกอข้าวอยู่รึเปล่า? สั่งซื้อได้ที่นี่เลย
ที่ร้าน lucky worm เรามีทั้ง ชีวภัณฑ์ ออแกนิค ที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช และสารเคมีที่ใช้กำจัดแมลง
เรามีใบอนุญาติขาย เคมีเกษตร ถูกต้องตามกฎหมาย ออกโดย กรมวิชาการเกษตร
ชีวภัณฑ์
สารเคมีกำจัดแมลง
หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ