มีนาคม 22, 2025

Blog

รู้จักกับ เพลี้ยอ่อน แมลงปากดูด ศัตรูตัวฉกาจของพืชหลายชนิด

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

Last Updated on มกราคม 27, 2025 by admin

เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงศัตรูพืชแบบปากดูด กลุ่มนึง มีรูปร่างคล้ายหยดน้ำ ลำตัวอ่อนนุ่ม มีขนาดเพียง 1.5-3.5 มิลลิเมตร ถ้าไม่ได้สังเกต ดูดีๆจริงๆ อาจจะไม่เห็นว่าเป็นแมลง สามารถขยายพันธุ์ได้โดยไม่ต้องอาศัยเพศ จัดเป็นศัตรูพืช
ตัวฉกาจ ของพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลหลายชนิด เช่น ฝ้าย ยาสูบ พริก มันฝรั่ง มะเขือเทศ กระเจี๊ยบเขียว
ถั่วฝักยาว และพืชตระกูลกะหล่ำ เป็นต้น
เพลี้ยอ่อนมีหลายชนิดหลายสายพันธุ์ ทั้งชนิดที่บินได้ และ บินไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเคลื่อนที่ไปไกล
มักจะเกาะกลุ่มอยู่ที่แหล่งหากิน แต่มักกระจายตัวไปบริเวณใกล้เคียงโดยอาศัยมดชนิดต่างๆนำพาไป
เพื่อจะได้กินมูลของเพลี้ยอ่อนเป็นอาหาร

ลักษณะทั่วไปของเพลี้ยอ่อน:

  • ขนาดเล็ก: มีขนาดประมาณ 1-10 มิลลิเมตร
  • รูปร่าง: รูปร่างคล้ายผลแพร์หรือหยดน้ำ มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก
  • สี: มีหลากหลายสี เช่น เขียว เหลือง ดำ ชมพู ขึ้นอยู่กับชนิด
  • ส่วนท้าย: มีท่อเล็กๆ สองท่อที่ส่วนท้ายของลำตัว เรียกว่า “คอร์นิเคิลส์” (Cornicles) ซึ่งใช้ขับสารเหลวเหนียว (น้ำหวาน)
  • ปาก: เป็นแบบเจาะดูด ใช้เจาะดูดน้ำเลี้ยงจากพืช

วงจรชีวิตของเพลี้ยอ่อน:

เพลี้ยอ่อนมีวงจรชีวิตที่ค่อนข้างซับซ้อน สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ (Parthenogenesis)

  • การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ: ในสภาพอากาศที่เหมาะสม เพลี้ยอ่อนเพศเมียสามารถออกลูกเป็นตัวได้เลย โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ ทำให้เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว
  • การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ: ในช่วงฤดูหนาวหรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เพลี้ยอ่อนจะวางไข่ ซึ่งไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนเมื่อสภาพอากาศเหมาะสม
  • ระยะตัวอ่อน: มีการลอกคราบหลายครั้งก่อนที่จะเป็นตัวเต็มวัย
  • ระยะตัวเต็มวัย: มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ชนิดมีปีกจะเกิดขึ้นเมื่อประชากรหนาแน่น หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เพื่อย้ายไปหาแหล่งอาหารใหม่

การทำลายของเพลี้ยอ่อน:

ดึงดูดมด: น้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนขับถ่ายออกมาจะดึงดูดมด ซึ่งมดจะช่วยปกป้องเพลี้ยอ่อนจากศัตรูธรรมชาติ ทำให้เพลี้ยอ่อนระบาดมากขึ้น

ดูดกินน้ำเลี้ยง: เพลี้ยอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก และลำต้น ทำให้พืชอ่อนแอ ชะงักการเจริญเติบโต ใบหงิกงอ และผลผลิตลดลง

ขับถ่ายน้ำหวาน: เพลี้ยอ่อนขับถ่ายน้ำหวาน ซึ่งเป็นสารเหลวเหนียว ทำให้เกิดราดำ (Sooty mold) บนใบพืช ทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้ไม่เต็มที่

เป็นพาหะนำโรคไวรัส: เพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรคไวรัสพืชหลายชนิด ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อผลผลิต

วิธีการป้องกันและกำจัด

1 หมั่นคอยดูแลและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกของท่าน ที่สามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเพลี้ย และศัตรูพืชอื่นๆ
อยู่เป็นประจำ
2 หมั่นคอย ตัดแต่ง กิ่ง ทรงพุ่ม ไม่ให้ ชิดกัน
3 หากพบ ร่องรอยการเข้าทำลายของเพลี้ย ให้รีบ ตัดกิ่ง ใบ หรือ ฝักนั้น แยกไปทำการเผาทำลายในทันที
4 หมั่นฉีดพ่น พืชผลของท่าน ด้วยชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง อย่าง บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม อยู่เป็นประจำ
ชีวภัณฑ์ พวกนี้ มักใช้ได้ผลดี ในช่วงที่ เพลี้ยยังระบาดไม่หนัก หรือใช้ป้องกันก่อนเกิดการระบาด
5 หาก การระบาดของเพลี้ยรุนแรง หรือต้องการผลเร่งด่วนในการกำจัด อาจพิจารณาใช้สารเคมีกำจัดแมลง
เข้าควบคุม

สารเคมีที่นิยมใช้กำจัดเพลี้ยอ่อน:

  • สารกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ (Neonicotinoids): เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง ได้แก่
  • สารกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids): เป็นสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์คล้ายสารสกัดจากดอกเบญจมาศ ออกฤทธิ์เร็ว แต่ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ได้ เช่น
    • ไซเพอร์เมทริน (Cypermethrin)
    • เดลทาเมทริน (Deltamethrin)
  • สารคาร์บาเมต (Carbamates): เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เช่น
    • คาร์โบซัลแฟน (Carbosulfan): มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยอ่อน แต่ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
  • สารออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphates): เป็นสารที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีความเป็นพิษสูงกว่าสารกลุ่มอื่น ควรใช้ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง เช่น
    • มาลาไทออน (Malathion): ใช้กำจัดเพลี้ยอ่อนได้ แต่ควรระมัดระวังในการใช้
    • โพรไทโอฟอส (Prothiofos): มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยอ่อน

กำลังมองหา ตัวช่วยดีๆ ในการกำจัดเพลี้ยอยู่รึเปล่า? สั่งซื้อได้ที่นี่เลย
ที่ร้าน lucky worm เรามีทั้ง ชีวภัณฑ์ ออแกนิค ที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช และสารเคมีที่ใช้กำจัดแมลง
เรามีใบอนุญาติขาย เคมีเกษตร ถูกต้องตามกฎหมาย ออกโดย กรมวิชาการเกษตร

หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ

เพิ่มเพื่อน

error: Content is protected !!