เมษายน 25, 2025

Blog

แมลงศัตรูพืช 20 ชนิด ที่คนรักการปลูกต้นไม้ควรรู้จักเอาไว้

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

Last Updated on มกราคม 4, 2025 by admin

แมลงศัตรูพืชเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรอย่างมาก การรู้จักและเข้าใจลักษณะของแมลงเหล่านี้จะช่วยในการป้องกันและกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แมลงศัตรูพืช สามารถ จำแนก ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆด้วยกัน คือแมลงปากกัด และแมลงปากดูด
ความเสียหาย ของต้นไม้โดยแมลงปากกัด จะเห็นได้จาก ใบถูก กัดแทะโดยแมลงเหล่านี้ จนแหว่ง ส่วนแมลงปากดูด จากดูดกินน้ำเลี้ยง ของต้นไม้ ทำให้ ต้นไม้ขาดสารอาหาร

1 เพลี้ยแป้ง (Mealybugs)

เพลี้ยแป้งเป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวสีขาวเหมือนมีใยอยู่รวบตัว ชอบเกาะกันเป็นกลุ่มทำให้สังเกตได้ง่าย ส่วนมากชอบเกาะอยู่ใต้ใบ ระบาดหนักช่วงอากาศร้อนชื้น โดยมีมดเป็นตัวช่วยแพร่กระจาย เพลี้ยแป้งจะดูดกินตรงยอดอ่อนของพืช ทำให้เกิดจุดดำที่ใบ เมื่อขาดน้ำเลี้ยงมาก ๆ ต้นไม้ก็จะหยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด

2 เพลี้ยไฟ (Thrips)

เป็นศัตรูพืชที่มีรูปร่างเรียวยาว ขนาดเล็ก ตัวเต็มไวมีปีก 2คู่ สามารถ บินหนี และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ชอบอาศัยอยู่ตามซอกใบ มักระบาดในระยะใบแตกยอดใหม่ จนถึง ใบพืชโต เมื่อถูกทำลาย ปลายใบจะเหี่ยว ขอบใบม้วน เพลี้ยไฟ มักระบาดในช่วงหน้าร้อน-แล้ง

3 เพลี้ยอ่อน (Aphids)

ต้นไม้ที่ถูกเพลี้ยอ่อน ทำลาย ใบจะหงิกงอ ใบเหลือง และร่วง เพลี้ยอ่อนมีขนาดเล็กมาก เท่าหัวเข็ม ลำตัวสีเขียวอ่อนไปจนถึงสีดำเข้ม มีขา 3คู่ มีหนวดสั่น เพลี้ยอ่อนจะดูดกิน ยอดน้ำเลี้ยง ตามใบ ยอด และดอก ทำให้ มีอาการใบหงอกงอ ไม่ออกดอก หรือดอกอ่อนแอ

4 เพลี้ยหอย (Scale insects)

แมลงปากดูดที่มีเปลือกแข็งปกคลุมลำตัว ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชเติบโตช้า

5 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown planthopper)

แมลงปากดูดที่ทำลายข้าว ทำให้ต้นข้าวแห้งตาย

6 เพลี้ยจักจั่น (Leafhoppers)

แมลงปากดูดที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช และเป็นพาหะนำโรคพืชหลายชนิด

7 หนอนกระทู้ (Spodoptera litura)

เกิดจาก ผีเสื้อกลางคืน หรือเป็นหนอนที่พึ่งออกมาจากไข่ผีเสื้อนั่นเอง ชอบกินใบผัก หรือใบไม้เป็นอาหาร หนอนกระทู้มักระบาดใน ผักที่กินใบ

8 หนอนห่อใบ (Leaf rollers)

ซึ่งก็คือตัวอ่อนของผีเสื้อกลางวันนั่นเอง สามารถ กัดกินได้ ทั้ง ผักใบ และผลไม้

9 หนอนชอนใบ (Leaf miners)

เมื่อเข้าทำลาย จะทำให้ใบเป็นเส้น เกิดจากการที่ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก มาทำการวางไข่บนใบหรือใต้ใบ เมื่อฝักตัว จะทำการ เจาะกิน ใบ และ มุดเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อภายในใบเป็นอาหาร ทำให้ใบไม้บิดเบี้ยวผิดรูป

10 หนอนเจาะลำต้น (Stem borers)

หนอนผีเสื้อและด้วงที่ชอนไชเข้าไปในลำต้นพืช ทำให้พืชขาดน้ำและอาหาร

11 ตั๊กแตน (Locusts)

แมลงปากกัดที่กัดกินใบและลำต้นพืช ทำให้พืชเสียหายอย่างรุนแรง

12 มวนเขียว (Green stink bug)

แมลงปากดูดที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลและเมล็ดพืช ทำให้ผลผลิตเสียหาย

13 ด้วงหมัดผัก (Flea beetles )

ด้วงปีกแข็งขนาดเล็กที่กัดกินใบผัก ทำให้เกิดรูพรุนและลดคุณภาพผลผลิต

14 ด้วงงวงมันสำปะหลัง (Cassava weevil)

ด้วงที่วางไข่ในลำต้นมันสำปะหลัง ทำให้ต้นเน่าและผลผลิตลดลง

15 แมลงค่อมทอง (Leaf beetles)

ด้วงปีกแข็งที่กัดกินใบพืช ทำให้ใบเป็นรูและลดการเจริญเติบโตของพืช

16 แมลงวันผลไม้ (Fruit flies)

แมลงวันที่วางไข่ในผลไม้ ทำให้ผลเน่าเสียและไม่สามารถบริโภคได้

17 ไรแดง หรือไรแมงมุม (Spider mites )

ใบพืชที่ถูกไรแดง ทำลาย จะมีลักษณะ เกิดจุดด่าง สีใบจางลง ขอบใบม้วนงอ ทำลายใบเป็นจุดๆ สามารถแพร่ขยายในวงกว้าง

18 แมลงหวี่ขาว (Whiteflies)

ต้นไม่ที่ถูกแมลงหวี่ขาวรบกวน ใบจะหงิกงอ มีจุดสีเหลือง แมลงหวี่ขาวและตัวอ่อน ชอบรวมตัวอยู่ใต้ใบ โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้เกิดจุดสีเหลืองบนใบ ขอบใบม้วนลง ลำต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหะนำโรคใบด่างอีกด้วย

19 หอยทาก ( Snails )

จะระบาดมากในช่วงหน้าฝน ชอบวางไข่ในพื้นที่อับชื้น หากินในเวลากลางคืน

20 หนอนเจาะผล (Fruit borers)

หนอนผีเสื้อที่ชอนไชเข้าไปในผลไม้ ทำให้ผลเน่าและเสียหาย

การจัดการแมลงศัตรูพืชเหล่านี้ควรใช้วิธีการผสมผสาน เช่น การใช้ศัตรูธรรมชาติ การปลูกพืชหมุนเวียน และการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสม เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศและลดความเสียหายต่อผลผลิต

สนใจสั่งซื้อ ชีวภัณฑ์ ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โทร 095-5419953
หรือ แอดไลน์ @luckyworm

เพิ่มเพื่อน

error: Content is protected !!