Last Updated on มกราคม 6, 2025 by admin
มาทำความรู้จักกับ ศัตรูพืชตัวฉกาจกันอีก 1 ชนิด ซึ่งตัวจิ๋วเดียว แต่ ความร้ายกาจ
แมลงหวี่ขาวเป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มอยู่ใต้ใบของพืช ตัวโตเต็มวัย ยาวประมาณ 1 มม.
มักจะระบาดในช่วง แล้ง หรือ ช่วงที่ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานๆ สามารถเข้าทำลาย พืชผลได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต
ลักษณะของแมลงหวี่ขาว
แมลงหวี่ขาวทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มใบ จะมาดูดกินน้ำเลี้ยงได้จาก ทุกส่วนของพืช
อาการเมื่อถูกแมลงหวี่ขาวเข้าทำลาย จะทำให้เกิดจุดสีเหลืองบนใบพืช ใบพืชหงิกงอ ขอบใบจะม้วนลง ต้นจะแคะแกรน และเหี่ยวลงในที่สุด นอกจากนี้ แมลงหวี่ขาวยังเป็นพาหะของเชื้อไวรัส ที่สามารถ นำพาให้ พืชผลของท่านเกิดโรคอื่นๆตามมาอีกด้วย ส่งผลให้ผลผลิตโดยรวมของเกษตรกร ลดลง
ตัวเต็มวัย: มีขนาดเล็กประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ลำตัวสีเหลืองอ่อน ปกคลุมด้วยผงแป้งสีขาว ทำให้ดูเหมือนมีปีกสีขาว 2 คู่ บินได้ว่องไว มักพบอยู่ใต้ใบพืช
ไข่: มีขนาดเล็กมาก รูปวงรี สีขาวหรือเหลืองอ่อน วางเป็นกลุ่มหรือเดี่ยวๆ ติดอยู่ใต้ใบพืช มักวางใกล้เส้นใบ
ตัวอ่อน: มีลักษณะแบน รูปไข่ สีขาวใสหรือเหลืองอ่อน ระยะแรกเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย จากนั้นจะเกาะติดกับใบพืชและดูดกินน้ำเลี้ยง มีหลายระยะ ก่อนที่จะเข้าสู่ระยะดักแด้
ดักแด้: มีลักษณะคล้ายตัวอ่อน แต่มีปลอกหุ้มแข็งขึ้น มักพบบนใบพืช
วงจรชีวิต
แมลงหวี่ขาวมีวงจรชีวิตค่อนข้างสั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้น โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะลอกคราบหลายครั้งก่อนที่จะเข้าสู่ระยะดักแด้ และฟักออกมาเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยสามารถวางไข่ได้หลายร้อยฟอง
ลักษณะการเข้าทำลาย
ดูดกินน้ำเลี้ยง: ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบพืช ทำให้ใบเป็นจุดสีเหลือง ใบเหลืองซีด หงิกงอ แคระแกร็น และร่วงหล่นในที่สุด หากระบาดรุนแรงอาจทำให้พืชตายได้
ขับถ่ายน้ำหวาน: แมลงหวี่ขาวขับถ่ายน้ำหวานออกมา ซึ่งเป็นอาหารของราดำ ทำให้เกิดคราบดำบนใบพืช บดบังการสังเคราะห์แสงของพืช
เป็นพาหะนำโรคไวรัส: แมลงหวี่ขาวเป็นพาหะนำโรคไวรัสพืชหลายชนิด เช่น โรคใบด่าง โรคใบหด ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากต่อผลผลิต
แนวทางการป้องกัน
1 ก่อนลงมือ เพาะปลูก ควรรองก้นหลุมด้วย สารป้องกันกำจัดแมลง **ถ้าหากท่านเลือกที่จะใช้สารเคมี ที่มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง ควร โรยกลบก้นหลุมด้วยดินอีก 1 ชั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ รากของพืช สัมผัสกับสารเคมีโดยตรง ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อพืชได้ โดยเฉพาะในระยะต้นอ่อน**
2 ก่อนปลูก ควร เคลือบเมล็ดพันธุ์ ด้วยสารป้องกันแมลงก่อน
3 ในกรณี ที่พบการระบาด ที่ไม่รุนแรงมาก แนะนำให้ ฉีดพ่น ด้วย สารชีวภัณฑ์ บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม ซึ่ง เป็นอันตรายต่อแมลงศัตรูพืช แต่ไม่เป็นอันตราย ต่อ ผู้ใช้ ผู้บริโภค ไม่ทำให้ดินเสื่อมสภาพ และไม่ปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม
4 ในกรณีที่ การระบาด รุนแรงมาก จน สารชีวภัณฑ์ เอาไม่อยู่จริงๆ ทางเลือกสุดท้ายก็คือ การใช้สารเคมี เข้าควบคุม เช่น บูโพรเฟซิน 40% หรือ ไดโนทีฟูแรน 10%
ศัตรูทางธรรมชาติที่สำคัญของ
เช่น แตนเบียน แมลงห้ำ แมลงช้างปีกใส แมงมุมสุนัขป่า แมงมุมตาหกเหลี่ยมเป็นต้น
สารชีวภัณฑ์ ที่นิยมใช้ป้องกันและกำจัด
บิวเวอร์เรีย หรือ ราขาว ซึ่งจะเข้าทำลายแมลงหวี่ขาวโดยการสร้างเส้นใยในลำตัวของแมลงและเจริญเติบโตขึ้น โดยใช้น้ำเลี้ยงในตัวแมลงเป็นอาหาร จนแมลงอ่อนแอและตายลง เมื่อแมลงตายลงราขาว จะสร้างเส้นใยปกคลุม
สารเคมีที่นิยมใช้ในการกำจัด
*** หากท่านเลือกที่จะใช้สารเคมี ก็ไม่ควรใช้ในปริมาณ ที่มากเกินกว่า ที่กำหนดไว้บนฉลาก เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อตัวท่านเองได้ ก่อนใช้ควรสวมชุดป้องกันสารเคมี เข้าสู่ร่างกายทุกครั้ง และอย่าลืมทำความสะอาดร่างกายหลังจากการใช้สารเคมี **
สารเคมีที่นิยมใช้ในการกำจัดแมลงหวี่ขาว ได้แก่
อิมิดาโคลพริด (Imidacloprid): เป็นสารเคมีประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง
ไทอะมีทอกแซม (Thiamethoxam): เป็นสารเคมีประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์คล้ายกับอิมิดาโคลพริด
อะซีทามิพริด (Acetamiprid): เป็นสารเคมีประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง
บูโพรเฟซิน (Buprofezin): เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการลอกคราบของแมลง
ไพมีโทรซีน (Pymetrozine): เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกินอาหารของแมลง
เรื่องของศัตรูพืช ถ้าไม่อยากปวดหัวภายหลัง ก็กันไว้ดีกว่าแก้
Lucky Worm ขอแนะนำ ชีวภัณฑ์ ที่สามารถป้องกันและกำจัดแมลงหวี่ขาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และที่สำคัญ ปลอดภัย ต่อผู้ใช้ สภาพแวดล้อม และ ดินของท่าน 100% ไม่มีสารเคมี
ด้วย เชื้อ บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม ใช้งานง่าย แค่ผสมน้ำแล้วฉีดพ่น
สั่งซื้อได้ ที่ลิงค์ ด้านล่างเลยค่ะ
หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ