กันยายน 11, 2024

Blog

6 โรคมะเขือเทศ ที่พบเจอได้บ่อย รู้ไว้ก่อน ป้องกันได้

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

มะเขือเทศ ผักสวนครัว ที่ปลูกได้ไม่ยาก และเป็นส่วนประกอบ ของเมนูอาหาร มากมายหลายชนิด
แต่ การปลูกพืชชนิดนี้ ก็มีอุปสรรค อยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นแมลงศัตรูพืช ที่คอยรบกวน หรือ โรคที่เกิดกับมะเขือเทศ
ที่ทำให้ผลผลิตของท่านเสียหาย บทความนี้จะมาแนะนำ โรคมะเขือเทศ ที่พบบ่อย ให้รู้จักกัน
เพื่อให้ผู้อ่านได้มีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันรักษาต่อไป

โรคมะเขือเทศที่พบได้บ่อย

1 โรคผลแตก ก้นยุบ ก้นเน่า สาเหตุ เกิดจากการขาดธาตุอาหาร เช่นแคลเซียม หรือเกิดจากความไม่สมดุลของธาตุ
แคลเซียมในดิน โดย ธาตุแคลเซียม จะต้องมีความสมดุล กับ ธาตุ โบรอน และแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุล
ระหว่าง ธาตุทั้ง สาม นี้ พืชก็จะแสดงอาการผิดปกติออกมา โดยถ้าเป็นมะเขือเทศ จะเกิดรอยช้ำที่บริเวณ ก้นของผล
ต่อมาแผลจะยุบตัวลง และขยายออกบริเวณรอบอย่างรวดเร็ว อาการก้นเน่า มักจะมี เชื้อราเข้ามา ทำลายแทรกซ้อนอีกด้วย

2 โรคใบจุด สามารถ จำแนกได้ เป็นโรคใบจุด 3 ประเภท ที่เกิดจากเชื้อราต้นเหตุ 3 ชนิด
2.1 สาเหตุจากเชื้อ Corynespora cassiicola ลักษณะอาการ ใบจะเป็นจุดเล็กๆ เป็นวงไม่ชัดเจน โดยรอบๆ จุดแผล
ใบจะแสดงอาการเหลืองล้อมรอบ และเมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูงจะเร่งการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว
ในใบที่มีอากาศรุนแรง ใบจะไหม้แห้งดำ หากอาการรุนแรง เชื้ออาจลามไปทำลายถึงผลของมะเขือเทศได้
2.1 สาเหตุจากเชื้อ Alternaria solani ซึ่งสามารถเข้าทำลาย ได้ในทุกช่วงการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ ลักษณะอาการ แผลเป็นจุดสีน้ำตาลดำ อาจเป็นแผลกลม หรือ เหลี่ยม มีจุดสีดำเป็นวงกลมเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ
2.3 สาเหตุจากเชื้อ Septoria lycopersici ลักษณะอาการ เริ่มจากแผลเหลี่ยมเล็กๆ สีดำ เมื่ออาการรุนแรงขึ้น แผล
จะขยายขนาดขึ้น และมีจำนวนจุดมากขึ้น เนื้อใบจะเปลี่ยนเป็น สีเหลือง และแห้งกรอบ

3 โรคใบไหม้ สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต เริ่มแรกจะพบการอาการของโรคที่ใบล่าง ส่วนด้านบนใบ
จะพบแผลฉ่ำน้ำ สีเขียวหม่น คล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะค่อยๆขยายใหญ่ขึ้น กลางแผลแห้งเป็นสีน้ำตาล
บริเวณขอบแผล ฉ่ำน้ำมีสีดำ เมื่อพลิกดู ใต้ใบ จะพบราสีขาว ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค และแผลจะลุกลามออกไป
ทำให้ใบไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลในที่สุด หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่นช่วงฤดูฝน โรคจะลุกลามอย่างรวดเร็ว

4 โรครากเน่าโคนเน่า อาจเกิดจาก บริเวณราก ได้รับความชื้นหรือน้ำมากจนเกินไป หรืออาจเกิดได้จากเชื้อรา
บางชนิดที่อยู่ในดิน โดยจะเน่าที่คอดินก่อน แล้วลุกลามขึ้นไปเรื่อยๆ หากอาการรุนแรง จะทำให้
มะเขือเทศเหี่ยวแห้งตายทั้งต้น

5 โรคเหี่ยวเขียว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum โดยจะระบาดมากใน ช่วงอากาศร้อน ที่อุณหภูมิ 30-35 องศา สามารถแพร่กระจายไปกับน้ำได้ดี และติดไปกับส่วนขยายพันธุ์ ลักษณะอาการ เริ่มแรกใบล่างจะเหี่ยวและลู่ลง ใบแก่ที่อยู่ล่างจะมีอาการเหลือง ตอนแรกๆ จะเหี่ยวเฉพาะช่วงกลางวัน ที่แดดร้อน แต่ต่อมา จะเหี่ยวนานขึ้น
จนกระทั่งเหี่ยวถาวร จากนั้น อาการจะลามขึ้นไปบนส่วนยอด ขอบใบม้วนลงด้านล่าง ถ้าถอนขึ้นมาจะพบอาการเน่าที่ราก ถ้าอาการุนแรง ภายในต้นจะกลวง เนื่องจากถูกแบคทีเรียทำลายเนื้อเยื่อ และตายในที่สุด

6 โรคใบหยิกเหลือง สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ที่ชื่อ TYLCV โดย มีแมลงศัตรูพืชเป็นพาหะ เริ่มแรกใบจะม้วน จากใบสีเขียว จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมายอด จะงุ้มเข้าหากันกลายเป็นพุ่ม ดอกจะร่วง ต้นจะหยุดการเจริญเติบโต
เนื่องจากสูญเสียพื้นที่ ที่ใบในการสังเคราะห์แสง

กำลังมองหาตัวช่วยในการป้องกันกำจัด โรคที่เกิดกับมะเขือเทศอยู่รึเปล่า?
สั่งซื้อได้ที่นี่เลย

ชีวภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มา สำหรับป้องกันกำจัดเชื้อรา

ชีวภัณฑ์ บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม สำหรับป้องกันกำจัดแมลง

ปุ๋ยน้ำ ธาตุรอง แคลเซียมโบรอน ป้องกันผลแตก

หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ

เพิ่มเพื่อน

error: Content is protected !!