Last Updated on มกราคม 27, 2025 by admin
ความกังวลใจของผู้เพาะปลูกมักเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเพาะกล้า เพราะโรคเน่าคอดิน (Damping-off) พร้อมที่จะเข้าทำลายต้นกล้าอ่อนแอได้ทุกเมื่อ โรคนี้เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและสร้างความเสียหายอย่างมาก หากไม่ได้รับการป้องกันและแก้ไขอย่างทันท่วงที บทความนี้จึงรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโรคเน่าคอดิน เพื่อเป็นคู่มือให้ผู้เพาะปลูกสามารถรับมือและป้องกันโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรคเน่าคอดิน มักจะเจริญเติบโตได้ดี ในพืชที่มีความชื้นสูง หรือการ รดน้ำให้พืชที่มากจนเกินไป
หรือแม้กระทั่ง การเพาะกล้า จนแน่นเต็มพื้นที่ จนน้ำไม่สามารถระบายได้ ก็สามารถก่อให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
โรคชนิดนี้ สามารถเกิดได้ในทุกระยะของการเพาะกล้าของต้นไม้ทุกชนิด โดยอาการของโรคจะแบ่ง
ได้เป็น 2 ระยะ คือระยะที่ยังเป็นเมล็ด ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ ก่อนที่เมล็ดจะเป็นต้นกล้า
เมื่อติดเชื้อ จะทำให้ เมล็ดพันธุ์เพาะไม่ขึ้น เกิดการเน่าของเมล็ดตั้งแต่ในดิน หากเกิดในระยะต้นกล้า
จากสามารถ สังเกตได้จากรอบๆ บริเวณโคน จะมีลักษณะ ฉ่ำน้ำ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และหักลงในที่สุด
สาเหตุของโรคเน่าคอดิน:
โรคเน่าคอดินเกิดจากเชื้อราในดินหลายชนิด โดยเชื้อราที่พบบ่อย ได้แก่:
- Pythium spp.
- Rhizoctonia solani
- Fusarium spp.
เชื้อราเหล่านี้อาศัยอยู่ในดินและสามารถเข้าทำลายต้นกล้าได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่ชื้นแฉะ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก และดินมีความเป็นกรด
อาการของโรคเน่าคอดิน:
อาการของโรคเน่าคอดินจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อราและระยะการเจริญเติบโตของต้นกล้า โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ:
- ระยะก่อนงอก (Pre-emergence damping-off): เชื้อราเข้าทำลายเมล็ดก่อนที่ต้นกล้าจะงอกพ้นดิน ทำให้เมล็ดเน่าและไม่งอก
- ระยะหลังงอก (Post-emergence damping-off): เชื้อราเข้าทำลายบริเวณโคนต้นที่ติดกับดิน ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเน่าเป็นสีน้ำตาลเข้ม ฉ่ำน้ำ และต้นกล้าจะหักล้มและตายในที่สุด บางครั้งเชื้อราอาจเข้าทำลายส่วนอื่นๆ ของต้นกล้า เช่น ราก หรือใบ ทำให้เกิดอาการเน่าและเหี่ยว
พืชที่มักพบโรคเน่าคอดิน:
โรคเน่าคอดินสามารถพบได้ในพืชหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า เช่น:
- พืชผักตระกูลกะหล่ำ (กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี คะน้า)
- พืชตระกูลแตง (แตงกวา แตงโม ฟักทอง)
- พืชตระกูลมะเขือ (มะเขือเทศ มะเขือ พริก)
- พืชอื่นๆ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่ว ฝ้าย ยาสูบ มะละกอ
แนวทางการป้องกัน
1 เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ จากแหล่งผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคเชื้อรา
2 ก่อนทำการปลูก ควรแช่เมล็ดพันธุ์ ด้วยสารป้องกันเชื้อรา อย่างเช่น ไตรโตเดอร์ม่า
3 บริหารจัดการแปลงปลูก ให้เหมาะสม เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ไม่ควรปลูก พืชผัก
ติดกันแน่นจนเกินไป เว้นระยะให้เหมาะสม เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
4 หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลง ไม่ควรปล่อยให้ขึ้นจนหนาแน่น
5 หมั่นตรวจสอบ แปลงปลูก หากพบการระบาดของโรค ให้รีบนำ ต้นที่เป็นโรคไปทำลาย
6 ฉีดพ่น สารชีวภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มา เพื่อ ป้องกันและกำจัดเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอย่างสม่ำเสมอ
ต้นกล้าคือจุดเริ่มต้นของพืชที่แข็งแรง การดูแลต้นกล้าให้ปลอดภัยจากโรคเน่าคอดินจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แม้ว่าโรคนี้จะสร้างความเสียหายได้ แต่ด้วยความรู้และความเข้าใจ ท่านจะสามารถป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข
กำลังมองหา ตัวช่วยดีๆ ในการป้องกัน โรคเน่าคอดินอยู่ รึเปล่า? สั่งซื้อได้ที่นี่เลย
ที่ร้าน lucky worm เรามีทั้ง ชีวภัณฑ์ ออแกนิค และเคมี ที่ใช้ป้องกันโรคพืช
เรามีใบอนุญาติขาย เคมีเกษตร ถูกต้องตามกฎหมาย ออกโดย กรมวิชาการเกษตร
หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ