กันยายน 11, 2024

Blog

โรคแคงเกอร์ โรคยอดฮิตของพืชตระกูลส้ม ที่ควรระวัง

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

โรคแคงเกอร์ ( canker ) เป็นโรคสามัญที่สำคัญ สำหรับพืชตระกูลส้มทั่วโลก ซึ่งป้องกันและกำจัดให้หมดสิ้นไปได้ยาก
ยิ่งถ้าหากผู้เพาะปลูกไม่ได้มีมาตรการ การป้องกันที่ถูกต้องและปฎิบัติตามมาตรการนั้นอย่างต่อเนื่อง การระบาดของโรคแคงเกอร์ก็เป็นไปได้ง่ายโดยเฉพาะ ในช่วงเวลา หรือ ฤดูที่เอื้อให้เกิดโรคนี้ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของต้น ไม่ว่าจะเป็น ราก กิ่งใบ หรือ ผล

สาเหตุของโรค

โรคแคงเกอร์ นั้นเกิดได้บ่อยในพืชตระกูล Citrus ก็จริง แต่พืช ชนิดอื่นๆ ก็สามารถเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน เช่น แก้วมังกร
หรือแม้กระทั่ง ไม้ประดับ อย่าง แคคตัส โดย สาเหตุก็มาจาก เจ้าแบคทีเรียที่ชื่อว่า แซนโทโมแนส ( Xanthomonas Campestris ) ซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายมาก ในสภาพอากาศ ที่ร้อนชื้น ในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส และจะระบาดได้ง่ายและรุนแรงขึ้น หาก ต้นไม้มีแผลอยู่แล้ว เช่นฝนตกหนัก พายุพัดรุนแรง จนเกิดเป็นแผลถลอก ที่ใบ กิ้ง ก้านต่างๆ หรือกระทั่ง มีหนอนชอนใบส้ม เข้าทำลายร่วม
เจ้าแบคทีเรีย แซนโทโมแนสนี้ ยังสามารถ แพร่กระจายได้ ด้วย กระแสลม น้ำ หรือ มี พาหะอื่นๆ นำพาไป เช่น แมลง หรือ กระทั่ง มนุษย์เอง ที่ไปหยิบจับสัมผัส เชื้อชนิดนี้

อาการของโรค

หากเกิดบนใบ จะเริ่มจากเกิดเป็น จุดน้ำใสๆ ขนาดเล็กบนใบอ่อน แล้วค่อยๆขยายใหญ่ขึ้น บริเวณตรงกลางจุดน้ำ จะปรากฎเป็นรอยนูนขึ้นมาด้านบนใบ เป็นขุยแข็งๆ สีน้ำตาลอมเหลือง มีลักษณะขรุขระ แผลอาจจะเกิดเดี่ยวๆ หรืออาจจะขยายมาติดกันเป็นแผ่นกว้าง ขอบแผลจะมีวงสีเหลืองล้อมรอบ หรือ อาจจะเป็นวงซ้อนกันก็ได้
ใบที่เกิดโรค จะแห้ง กลายเป็นสีเหลือง และร่วงโรยไปในที่สุด
หากเกิดอาการ ที่บริเวณกิ่ง จะเห็นแผล ที่มีสีเหมือนสนิม อยู่บริเวณรอบๆกิ่ง เริ่มตั้งแต่กิ่งอ่อน และแผลจะหนาขึ้น ในบริเวณรอบกิ่งที่แก่ขึ้น บริเวณใจกลางแผล จะเห็นสะเก็ดของแบคทีเรียนูนขึ้นมา แผลที่บริเวณกิ่งนี้จะทำให้กิ่งแห้งและตายได้ ส่วนยอดใหม่ที่แตกออกมาจากกิ่งที่เกิดโรค จะมีขนาดสั้นๆมีจำนวนใบน้อยมากและใบจะมีขนาดเล็ก
ซึ่งกิ่งที่เป็นโรค จะยังค้างอยู่บนต้น และจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อ ให้กับยอดอ่อนและผล ต่อไป
หากเกิดอาการที่บริเวณผล จะเหมือนกับอาการที่เกิดบนใบ ต่างกันตรงที่จะไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบ ผลที่นูนขึ้นมา จะตกสะเก็ด เมื่อผลใหญ่ขึ้น แผลจะแตกออกและมีน้ำไหลออกมา ซึ่งจะยิ่งทำให้เชื้อราบางชนิดเติบโตขึ้นบนแผล ทำให้ผลเน่าและร่วงลงในที่สุด

การป้องกันและกำจัด

1 เลือกกิ่งพันธุ์ จากแหล่งจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ สะอาด ไม่มีโรคแคงเกอร์ระบาด
2 ฉีดสารป้องกันและกำจัดพวกเพลี้ยไฟ หรือ หนอนชอนใบ อย่างสม่ำเสมอ ด้วย ชีวภัณฑ์ บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม
3 หมั่นตรวจตรา แปลงปลูก อยู่เสมอ หากพบ กิ่งก้านหรือใบที่เป็นโรค ให้ตัดแต่งทิ้ง เพื่อป้องกันการระบาดหรือลุกลาม และเพื่อให้ทรงต้นโปร่งไม่อับชื้น ไม่อยู่ในสภาวะที่เอื้อต่อการแพร่กระจายของโรค
4 ฉีด น้ำส้มควันไม้ ซึ่งมีฤทธิ์ เป็นกรดสูง และมี ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เมลานอล และฟีนอลซึ่งสามารถ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียน แซนโทโมแนส ได้ ( อย่าลืม เจือจาง ด้วยน้ำสะอาดก่อน ถ้าฉีดน้ำส้มควันไม้ด้วยความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้ใบของพืชไหม้ได้ )
5 หาก โรคระบาดรุนแรง และแพร่กระจายไปมาก จน ชีวภัณฑ์ เอาไม่อยู่ ทางเลือกสุดท้ายก็คือการใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง เข้าควบคุม ตัวที่นิยมกันก็อย่างเช่น เมทาแล็กซิล (Metalaxyl) หากท่านจำเป็น ต้องใช้สารเคมีจริงๆ ก็อย่าลืม
ป้องกันตัวท่านเอง ด้วย ชุดป้องกัน ถุงมือ และหน้ากาก ก่อนใช้ และควรใช้ในปริมาณ ที่พอเหมาะเท่านั้น

โรคแคงเกอร์ ป้องกันได้ และการป้องกันนั้น ง่ายกว่า การรักษาเมื่อโรคลุกลามแพร่กระจายไปแล้ว มากมายหลายเท่า
การรักษา ด้วยเคมี ในภายหลังเองก็มี ผลกระทบ อีกมาก จะดีกว่ามั๊ย ถ้า ท่านป้องกันไว้ก่อน ด้วย ชีวภัณฑ์ อย่างน้ำส้มควันไม้ ซึ่ง ไม่เป็นอันตราย ต่อ คน สัตว์เลี้ยง ไม่ทำให้ดินเสีย ไม่ทิ้งสารเคมีอันตรายตกค้าง
ใช้ก็ง่าย ไม่จำเป็นต้องใส่ ชุดป้องกัน ก็ฉีดพ่นได้เลย สั่งซื้อน้ำส้มควันไม้ได้ที่นี่

หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ

ที่ร้าน รับ ทำดินสำหรับ ปลูกกุหลาบโดยเฉพาะด้วยนะคะ

เพิ่มเพื่อน

error: Content is protected !!