กันยายน 11, 2024

Blog

ประเภทของปุ๋ย และความสำคัญของการใช้ปุ๋ย

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

มนุษย์ เริ่มรู้จักการใช้ปุ๋ยมายาวนาน พอๆกับการที่มนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะปลูก
พืชผัก เองก็ ต้องการ “สารอาหาร” เช่นเดียวกับมนุษย์ ปุ๋ยจึงมีความสำคัญ เป็นอย่างยิ่งในการ เพาะปลูก และการทำเกษตรกรรม
ปุ๋ย จะช่วย เติม และทดแทน แร่ธาตุ ที่ พืชดูดซับไปจาก ดินเพื่อการเจริญเติบโต ถ้า ไม่มีปุ๋ย ผลผลิต และการเจริญเติบโต ของพืช
จะลดลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในโลก ยุคปัจจุบัน ที่จำนวนประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับความต้องการอาหาร การใช้ปุ๋ย จะช่วยให้ ผลผลิตทางการเกษตร เพียงพอต้องการ กับโลกยุคปัจจุบัน

สารอาหาร ที่จำเป็นกับพืช นั้นมี ถึง 17 ชนิด
ใน 3 อย่างนี้ คาร์บอน,ออกซิเจน,ไฮโดรเจน พืชสามารถได้รับ จากอากาศและน้ำ อีก 14 อย่างที่เหลือ พืชต้องดูดซับจากดิน
หรือจากปุ๋ย

ความหมายของปุ๋ย
ปุ๋ย หมายถึง สาร ที่ใส่ลงในดิน เพื่อเพิ่มอาหาร ที่จำเป็นต่อพืช อาจจะได้ทั้งจากธรรมชาติ หรือการ ผลิตด้วยกระบวนการทางเคมีในห้องแลป

ประเภทของปุ๋ย
1. ปุ๋ยเคมี เรียกอีกอย่างว่า ปุ๋ย วิทยาศาสตร์ (chemical fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่ผลิตจาก สารอนินทรีย์สังเคราะห์ ด้วยกระบวนการทางเคมี
โดยยังแบ่งแยกย่อย ได้อีก เป็น ปุ๋ยเชิงเดี่ยว (แม่ปุ๋ย) ซึ่งจะมีธาตุอาหารเพียงธาตุเดียว และ ปุ๋ยผสม ซึ่งได้จากการนำ ปุ๋ยเชิงเดี่ยวมาผสมกัน เพื่อให้ได้ ธาตุอาหารตามที่ต้องการ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม
ข้อดีของปุ๋ยเคมี
– คาดเดาได้ในเรื่องของผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก ในการผลิตมีการคำนวณส่วมผสม และสูตรอย่างแม่นยำ ไม่ผันผวนเหมือน ปุ๋ยชีวภาพ ผู้ใช้สามารถ รู้ได้อย่างแน่นอน ว่า ใส่อะไรลงไปในดิน
– ในปุ๋ยเคมี สารอาหารหลัก ทั้ง N,P,K มีความสมดุล ถ้าต้องการ สูตรที่มีธาตุอาหารรอง อย่าง เหล็ก,ซัลเฟอร์,ทองแดง ก็สามารถ หาซื้อได้ตามความต้องการ
– เห็นผลเร็วกว่า ปุ๋ยอินทรีย์ ,ปุ๋ยชีวภาพ
ข้อเสียของปุ๋ยเคมี
– ถ้า ใส่มากเกินไป อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี ต่อพืชและดิน
– ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจ ในเรื่องปุ๋ยเคมี ระยะเวลา ที่ควร และไม่ควรใส่ ปุ๋ยสูตรไหน ที่เหมาะกับพืชและดินแบบใด
– ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจจะทำให้ดินเป็นกรด
– หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจจะทำให้ดินแห้งแข็ง
– รบกวนจุลินทรีย์ที่ดีในดิน
– อาจทำลายหรือ รบกวน ระบบนิเวศน์ในบริเวณที่ใช้ เช่น การปนเปื้อนในแหล่งน้ำบริเวณนั้น

2. ปุ๋ยอินทรีย์ ( Organic fertilizer ) นั้นผลิตจาก สิ่งมีชีวิต ทั้งซากพืช ซากสัตว์ หรือมูลสัตว์ ด้วยกระบวน การ ทางธรรมชาติเช่นการหมัก โดย ปุ๋ย อินทรีย์ ยังสามารถ แบ่งย่อย ได้อีก เป็น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และ ปุ๋ยพืชสด

ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์
– ช่วย ปรับปรุงโครงสร้างของดิน เนื่องจากในปุ๋ยอินทรีย์นั้น มีสารประกอบอินทรีย์ ทำให้ดินร่วนทรุย มีอากาศถ่ายเท สามารถ อุ้มน้ำ และธาตุอาหารต่างๆได้ดีขึ้น
– ต่างจากปุ๋ยเคมี ซึ่งทำลายจุลินทรีย์ในดิน ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้ จุลินทรีย์ในดิน ดำรงชีวิตอยู่ได้เพื่อสร้างธาตุอาหารให้พืช
– มีความยั่งยืน และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
– ไม่เป็นอันตราย ต่อ ผู้ใช้ (เกษตรกร ) และผู้บริโภค
– ผลิตได้ง่าย กว่าปุ๋ยเคมี กระบวนการผลิต ไม่ซับซ้อน วัตถุดิบในการผลิต หาได้ตามธรรมชาติ
– สร้างความสมดุล ในความเป็นกรด-ด่างในดิน ไม่ทำให้ ค่า PH ผันผวนมากเกินไปนัก

ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์
– การผลิตปุ๋ยอินทรีย์นั้น แต่ละที่มีกระบวนการผลิตไม่เหมือนกันส่วนผสมก็แตกต่างกันไป สารอาหารที่จำเป็นกับพืชในปุ๋ยอินทรีย์ จึงไม่ค่อยแน่นอน
– เห็นผลช้ากว่าปุ๋ยเคมี
– ในปริมาณที่เท่ากัน มีสารอาหารสำหรับพืชน้อยกว่าปุ๋ยเคมี ส่งผลให้ต้องใช้ในปริมาณที่มากกว่าปุ๋ยเคมี
– กระบวนการผลิต ที่ไม่ดี อาจทำให้ ปุ๋ยอินทรีย์ มีเชื้อโรค ซึ่งสามารถ แพร่กระจายไปในดินหรือน้ำ
– เทียบกันในปริมาณที่เท่ากันแล้ว มีราคาค่อนข้างแพงกว่าปุ๋ยเคมี

3. ปุ๋ยชีวภาพ ( Biofertilizer ) คือปุ๋ยที่ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต เมื่อนำไปใส่ลงในดิน จุลินทรีย์เหล่านี้ จะทำหน้าที่ ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดิน เปลี่ยนเป็น ธาตุอาหารที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ในการเจริญเติบโตได้

ข้อดีของปุ๋ยชีวภาพ
– ใช้งานง่าย
– ต้นทุนการผลิตต่ำ
– เปรียบเสมือน “อาหารเสริม” สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ย เคมีได้

ข้อเสียของปุ๋ยชีวภาพ
– เนื่องจาก ปุ๋ยชีวภาพ เต็มไปด้วย จุลินทรีย์ซึ่งมีชีวิต อาจจะ มีความยุ่งยากในการเก็บรักษาในระยะเวลานานๆ
ถ้าเก็บรักษาไม่ดี จุลินทรีย์ในปุ๋ยลดน้อยลง ปุ๋ยชีวภาพ อาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร
– ปุ๋ยชีวภาพ นั้น เหมือน “ตัวช่วย” สำหรับการเพาะปลูก แต่ไม่สามารถ ทดแทน ปุ๋ยชนิดอื่นได้
– ประสิทธิภาพของปุ๋ยชีวภาพจะลดลง เมื่อดินแห้ง

กำลังมองหา ปุ๋ยออร์แกนิค มูลไส้เดือน?

error: Content is protected !!