กรกฎาคม 27, 2024

Blog

ความสำคัญของยาฆ่าหญ้า และการจัดประเภททั้ง 4 แบบ

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

ยาฆ่าหญ้า (herbicide) หมายถึงสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชหรือพืชไม่พึงประสงค์ในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น วัชพืชที่เป็นอันตรายหรือเป็นคู่แข่งหรือเป็นสิ่งกีดขวางทางการเจริญเติบโตของพืชประฑาน ยาฆ่าหญ้าเป็นสิ่งจำเป็นในการกำจัดวัชพืชในพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้พืชที่ท่านปลูกเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผล ให้คุณภาพ
และปริมาณของผลผลิตเพิ่มขึ้นสูงตามไปด้วย

การจำแนกประเภทของยาฆ่าหญ้าในแบบต่างๆ

1 จำแนกตามโครงสร้างทางเคมี แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1.1 ยาฆ่าหญ้า ประเภท สารอนินทรีย์ ( Inorganic herbicides ) เช่น กรดดินประสิว กรดอาซินิก กรดอาซินิกไตรออกไซด์ แอมโมเนียมซัลเฟต แอมโมเนียมไทโอไซยาเนต โบแรค คอปเปอร์ซัลเฟต โปแตมเซียมคลอไรด์
โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมไดคลอเมต เป็นต้น
1.2 ยาฆ่าหญ้า ( Organic herbicides) ประเภท สารอินทรีย์ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีประสิทธิภาพ ในการควบคุม วัชพืชแบบเลือกทำลาย ปลอดภัยต่อพืชปลูก และมักมีระดับความเป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ต่ำกว่าสารกำจัดวัชพืชในกลุ่มอนินทรีย์

2 จำแนกตามลักษณะทางการใช้กับพืช แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

2.1 ประเภทใช้ทางใบ (Foliar applied herbicides) ยาฆ่าหญ้า ประเภทนี้ จะเข้าสู่พืชทางใบหรือยอด
โดยต้องใช้ก่อนปลูกพืชประธานด้วยการฉีดพ่น ซึ่งสามารถแยกได้อีก2 ประเภทย่อยคือ
2.1.1 ประเภทสัมผัส ยาฆ่าหญ้าประเภทนี้ จะทำลายพืชเฉพาะส่วนของที่ได้รับ ยาเข้าไป เช่น สารจำพวก
โพรพานิล และ เอ็มเอสเอ็มเอ
2.1.2 ประเภทดูดซึม ยาฆ่าหญ้า ประเภทนี้ เมื่อเข้าสู้ต้นวัชพืชก็จะเคลื่อนย้ายไปส่วนต่างๆ ทำให้วัชพืช
ถูกทำลาย เช่น 2,4-ดี ไกลโฟเซต ไพราโซซัลฟูรอน และอิมาชาเพอร์ เป็นต้น
2.2 ประเภทใช้ทางดิน ( Soiled applied herbicides ) ยาฆ่าหญ้า ประเภทนี้ จะเข้าทางราก หรือ ยอดอ่อน
ขณะงอก โดยสามารถใช้ก่อนปลูกพืชประธาน หรือพ่นทันทีหลังปลูกพืชประธานแล้ว แต่ก่อนวัชพืชงอก
ตัวอย่างสารพวกนี้ ได้แก่ ออกซาไดอะซอน บิวทาคลอร์ อะลาคลอร์ โบรมาซิล ไดยูรอน และเพนดิเมทาลิน
เป็นต้น

3 จำแนกตามการทำลายในพืช

3.1 กลุ่มที่ทำลายเซลล์พืช ( Cell membrane disruptors) ออกฤทธิ์ด้วยการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ โดนส่วนใหญ่
จะเป็นสารที่ใช้หลังจากวัชพืชงอก สารกลุ่มนี้เคลื่อนย้ายในเนื้อเยื้อพืชได้จำกัด ทำลายวัชพืชในเวลารวดเร็ว
ไม่มีผลทางดิน วัชพืชที่ถูกสารนี้ จะทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวไหม้ และแห้งตาย ตัวอย่างสารในกลุ่มนี่ได้แก่
ไดควอต โฟมีซาเฟน ซีฟลูออร์เฟน ซันเฟนทราโซน คาร์เฟนทราโซน-เอทิล ออกซาไดอะซอน ฟลูมิออกซาซิน
เป็นต้น

3.2 กลุ่มที่ควบคุมการเจริญเติบโต ( Growths Regulators ) มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืช สารในกลุ่มนี้
สามารถเคลื่อนย้ายไปสะสมบริเวณเนื้อเยื่อ และชักนำให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกระตุ้นการแบ่ง
เซลล์ ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตผิดปกติ ทำให้เนื้อเยื่อโป่งพอง ใบลำต้นบิดเป็นเกลียวหรือแตก ต้นแคระแกร็น
ไม่เตริญเติบโตหรือตายได้ ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่ 2,4-ดี เอ็มพีซีเอ ไตรโคลเพอร์ ฟลูรอกซีเพอร์ ควินคลอแรก
เป็นต้น

3.3 กลุ่มที่ยับยั้งการสังเคราะห์แสง ( Photosynthetic Inhibitors ) เป็นสารที่เข้าไปยับยั้งการสังเคราะห์แสงของวัชพืช ทำให้ไม่สามารถสร้างอาหารเพื่อการเจริญเติบโตได้ สารกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะมีการ เคลื่อนย้ายภายในต้นพืช
โดยสารที่พ่นทางดินจะเข้าทางรากอ่อน ส่วนสารที่พ่นทางใบจะเข้าทางใบ วัชพืชจะแสดงอาการใบเหลืองซีด
และในที่สุดจะแห้งทั้งใบ ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่ อะทราซีน อะมีทรีน เมทริบูซิน เฮกซะซิโนน โพรพานิล
ไดยูรอน เป็นต้น

3.4 กลุ่มยับยั้งสารช่วยสังเคราะห์แสง ( Pigment Inhibitors ) เป็นสารยับยั้ง การสร้างรงควัตถุ คือแคโรทีนอยด์
ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสง โดยวัชพืชจะแสดงอาการใบซีดขาว ทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
จนตายในที่สุด ตัวอย่างสารกลุ่มนี้ได้แก่ มิโซไตรโอน ไอซอกซาฟูลโทล โทพรามิโซน โคลมาโซน เป็นต้น

3.5 กลุ่มยับบั้งการเจริญเติบโตของต้นอ่อน ( Seedling growth inhibitors ) เป็นสารที่มีผลต่อการแบ่งเซลล์
และการขยายขนาดของเซลล์ ซึ่งอยู่ในกระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อเจริญของวัชพืช
คือส่วนรากและยอด่อน ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ทำให้วัชพืช ชะงักการเจริญเติบโต และตายในที่สุด
สารประเภทนี้ส่วนใหญ่ จะพ่นทางดิน และเข้าสู่วัชพืชทางราก ตัวอย่างสารกลุ่มนี้ได้แก่
อะลาคลอร์ อะซีโทคลอร์ เมโทลาคลอร์ ไดเมทีนามิด ไทโอเบนคาร์บ ไตรฟลูราลิน เพนดิเมทาลิน เป็นต้น

3.6 กลุ่มยับยั้งการสร้าง กรดอะมิโนในพืช ( Amino acid synthesis inhibitors) เป็นสารที่ยับยั้ง การทำงานของเอนไซม์ ที่เฉพาะเจาะจงกับการสร้างกรดอะมิโน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างโปรตีน เมื่อกรดอะมิโนลดลง
จะทำให้การเจริญเติบโตของวัชพืชหยุดชะงัก และตายลงในที่สุด ตัวอย่างสารกลุ่มนี้ได้แก่ เมตซัลฟูรอน-เมทิล
ไพราโซซัลฟูรอน-เอทิล เอทอกซีซัลฟูรอน นิโคซัลฟูรอน อิมาเพเซอร์ อิมาชาควิน อิมาชาพิก บิสไพริแบก-โซเดียม ไพริเบนซอกซิม ไกลโฟเซต กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม ไดโคลซูแลม เป็นต้น

3.7 กลุ่มยับยั้งการสร้างกรดไขมันในพืช ( Lipid syntheis inhibitors) สารในกลุ่มนี้ จะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acetyl-Coa carboxylase ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสง กรดไขมันในพืช เป็นสารที่จำเป็น
ต่อการสร้างผนังเซลล์และการเจริญเติบโต วัชพืชใบกว้างจะทนสารเหล่านี้ แต่จะมีผลต่อวัชพืชใบแคบมาก
โดยสารกลุ่มนี้จะใช้พ่นทางใบและเคลื่อนย้ายได้ในพืช เพื่อวัชพืชได้รับสารนี้ ใบจะเหลืองเหี่ยว และทำให้ต้นตาย
ภายใน 10-14 วัน ตัวอย่างสารกลุ่มนี้ได้แก่ ไซฮาโลฟอบ-บิวทิล ฟิโนซาพรอป-พี-เอทิล ฟลูอะซิฟอบ ควิซาโลฟอฟ-พี-เอทิล เป็นต้น

4 จำแนกตามการเลือกทำลาย แบ่งเป็น 2 ประเภท

4.1 ยาฆ่าหญ้า แบบเลือกทำลาย ( Selective herbicides ) โดยจะสร้างความเสียหายกับพืชบางชนิด
แต่ไม่มีผลกับพืชอีกหลายชนิด ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้เช่น 2-4,ดี อะลาคลอร์ ไดยูรอน อะมีทรีน ฟลูอะซิฟอฟ-พี-บิวทิล เป็นต้น
4.2ยาฆ่าหญ้า แบบไม่เลือกทำลาย ( Non-selective herbicides ) ซึ่งทำลายพืชทุกชนิด เมื่อสัมผัสหรือเคลื่อนย้าย
เข้าสู่พืช เช่น ไกลโฟเซต และกลูโฟซิเนต-แอมโมเนียมเป็นต้น

ยาฆ่าหญ้านั้น มีประโยชน์มากมายในการทำเกษตร ทั้งช่วยประหยัดเวลา ประหยัดค่าแรงงานคน แต่หากใช้ไม่ถูกวิธี
ก็อาจจะเกิดความเสียหายทั้งต่อตัว เกษตรกรผู้ใช้ หรือ สิ่งแวดล้อม หรือกระทั่งพืชประธานด้วย ดังนั้น ก่อนใช้งาน จำเป็นที่ท่านต้องศึกษาวิธีใช้อย่างถูกต้อง อ่านฉลากให้เข้าใจก่อนใช้งาน ไม่ใช้เกินอัตรา ที่ระบุ เลือกใช้ ยาฆ่าหญ้า
ให้ถูกประเภทกับวัชพืชที่ต้องการกำจัด และอย่าลืมป้องกันตัวท่านเองก่อนฉีดพ่น ทุกครั้ง ด้วยชุดป้องกันที่ได้มาตรฐาน

กำลังมองหาตัวช่วยดีๆ ในการกำจัดวัชพืช อยู่รึเปล่าคะ?
สั่งซื้อได้ที่นี่เลย มีครบ ทั้ง สารกำจัด วัชพืชใบกว้าง-ใบแคบ

หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ

เพิ่มเพื่อน

error: Content is protected !!