ถ้าจะกล่าวถึง แมลงศัตรูพืช ที่สามารถทำลายผลผลิตได้ตลอดทั้งปี และสร้างความเสียหายรุนแรง ก็คงหนีไม่พ้น
พวกเพลี้ย ชนิดต่างๆ วันนี้ผู้เขียน จะมาแนะนำ เพลี้ย 5 ชนิดที่ เป็นปัญหา มากที่สุดสำหรับเกษตกรไทย
ให้ได้รู้จักกัน เพื่อศึกษา ถึงแนวทาง การป้องกันและกำจัดต่อไป
1 เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟมีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ย่อย และแต่ละชนิดมีการเข้าทำลายพืชที่แตกต่างกัน ทั้งกินยอดอ่อน เจาะดูดกินน้ำเลี้ยง หากเจาะกินผล ผลก็จะเสียรูปทรง เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูพืชที่มีขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1 มม. ตัวอ่อนมี
สีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง สามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว เพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆบริเวณใบอ่อน
ดอก ก้านช่อดอก และผลอ่อน ระยะฟักตัวจากไข่ ใช้เวลา 4-7 วัน เพลี้ยไฟเข้าทำลายพืชแทบทุกชนิด
ตั้งแต่ ไม้ดอกไม้ประดับ ไปจนถึงพืชผักผลไม้ เช่น พริก แตง ฟัก มะเขือ มะม่วง ส่วนที่เป็นเป้าหมายเข้าทำลาย
ก็อย่างเช่น ยอดอ่อน ตาใบ ดอก และ ผล การทำลาย เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช เพลี้ยชนิดนี้
พบได้มากในช่วง เดือน มีนาคม ถึง เดือน พฤษภาคม
2 เพลี้ยอ่อน
เป็นแมลงศัตรูพืชที่พบได้ทั่วโลก สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ตลอดปี การกระจายตัว
ของเพลี้ยชนิดนี้เป็นแบบรวมกลุ่ม พบการระบาดได้ในพืชเกือบทุกชนิด ทั้งผัก ผลไม้ ไม้ยืนต้น ไม้ดอก และพืชไร่ เมื่อพืชถูกเพลี้ยอ่อนเข้าทำลาย จะทำให้หยุดชะงัก การเจริญเติบโต มีปริมาณและ คุณภาพของผลผลิต ลดลง หรือ อาจถึงขั้น ไม่ได้ผลผลิตเลย และปัญหาทางอ้อมอีกอย่างที่เพลี้ยอ่อนนำมา ก็คือ “มด” ที่มากิน น้ำหวาน ที่เพลี้ยอ่อนถ่ายออกมา ทำให้เกิดเป็นราดำ
3 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เป็นแมลงปากดูดตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลปนดำ แบ่งออก เป็นชนิดปีกสั้น และชนิดปีกยาว สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็ว
จากกระแสลม ลักษณะการเข้าทำลาย ของเพลี้ยชนิดนี้ คือจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้น ทำให้พืชมีอาการใบเหลือง
แห้งตายเป็นหย่อมๆ นอกจากนี้ เพลี้ยชนิดนี้ ยังเป็นพาหะของโรคใบหงิกในนาข้าวอีกด้วย
4 เพลี้ยแป้ง
มีลักษณะตัวสีขาว มีสารสีขาวคล้ายแป้งติดอยู่ตามตัว พืชที่มักตกเป็นเป้าทำลายของเพลี้ยชนิดนี้ได้แก่
มันสำปะหลัง ส้ม มะนาว มะเขือ พริก มะม่วง เป็นต้น โดยการทำลาย เพลี้ยแป้งจะเข้าทำลายตามส่วนต่างๆ เช่น
ใบ หรือ ยอด โดย ยอดที่ถูกทำลายจะงอหงิก เป็นพุ่ม ลำต้นที่ถูกทำลายจะบิดเบี้ยว มีช่วงข้อถี่ ผลผลิตลดลง
หากการระบาดรุนแรง พืชจะยอดแห้งตาย เพลี้ยชนิดนี้ จะแพร่ระบาดอย่างรุนแรง ในฤดูแล้ง โดยเฉพาะช่วงที่
ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
5 เพลี้ยจั๊กจั่น
ที่ระบาด และพบเจอได้บ่อยในประเทศไทย จะมี อยู่ 2 ชนิด พืชที่มักตกเป็นเป้าทำลาย ของเพลี้ยจั๊กจั่น ก็อย่างเช่น
ข้าว มะม่วง ถั่วต่างๆ โดยการเข้าทำลาย จากทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน ทำให้แห้ง และ ดอกร่วง ติดผลน้อย หรือ ไม่ติดผลเลย ต้นแคระแกร็น ขอบใบไหม้ ห่อขึ้นด้านบน
เพลี้ยชนิดนี้มักระบาดรุนแรงในฤดูแล้งเช่นกัน
แนวทางการป้องกันและกำจัดเพลี้ย
1 หม่ำสำรวจแปลงปลูก ของท่าน หากพบร่องรอยของเพลี้ย หรือไข่ของมัน ให้รีบเก็บไปเผาทำลาย
2 ปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อตัดวงจรชีวิตของเพลี้ย ไม่ควรปลูกพืชติดต่อกัน ควรมีการพักดินเพื่อทำลายไข่
3 หมั่นฉีดพ่น สารป้องกันกำจัด เพลี้ย อยู่เป็นประจำ และควรมีการ สลับกลุ่มสาร ที่ใช้ เพื่อป้องกัน
การดื้อยาของเพลี้ย ชนิดต่างๆ
ปัญหา เพลี้ย กันไว้ก่อน ที่จะระบาด นั้นง่ายกว่า และประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า การกำจัดต้องที่เพลี้ย
ระบาดแล้วมาก สั่งซื้อ สารกำจัดเพลี้ยได้ที่นี่ เรามีทั้งชีวภัณท์ และ สารเคมี จำหน่าย
ที่ร้านมีใบอนุญาติจำหน่าย เคมีเกษตร ถูกต้องตามกฎหมายค่ะ
ชีวภัณท์
สารเคมีกำจัดแมลง
หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ