เมษายน 23, 2024

Blog

Smart Farming กับความท้าทายใหม่ของเกษตรกรไทย

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

เกษตรกรรม เป็นส่วนสำคัญ ของระบบเศรษฐกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลาช้านาน อาชีพเกษตกร ยังช่วยหล่อเลี้ยง ชีวิต และเป็นแหล่งรายได้ ให้ผู้คนจำนวนมากในประเทศไทย พื้นที่กว่า 46.64% ของประเทศไทย ก็ถูกใช้เพื่อทำการเกษตร เช่น ปลูกพืชผล , เลี้ยงสัตว์ , ทำประมง เป็นเวลาหลายทศวรรษ ที่เกษตกร ไทย ใช้วิธีการทำการเกษตร แบบดั้งเดิม เหมือนกับ รุ่นปู่ย่าตายาย
โดยไม่มี การใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาช่วย

ภาคการเกษตรของไทย ต้องเผชิญกับความท้าทาย หลายด้าน เช่น ปัญหาเชิงโครงสร้าง และ การเปลี่ยนแปลงของตลาดภายใน-ภายนอกประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนกระทบต่อ ผลผลิตการเกษตรโดยรวม และขีดความสามารถในการแข่งขัน ของเกษตรกรไทย

ในช่วงปี 1993-2016 เกษตรกรรายย่อย มีขนาดที่ดินเพื่อทำการเกษตร ลดลงเรื่อยๆ จากหลายสาเหตุ เช่น การขยายตัวของเขตตัวเมือง การลดลงของแรงงานด้านการเกษตร การส่งที่ที่ดินทำกินจากรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย สู่รุ่นลูกหลาน

จากการ สำรวจ พบว่า อายุเฉลี่ย ของเกษตรกรรายย่อย ในประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 56 ปี ซึ่ง ส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจ และการเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและผลผลิตทางการเกษตร ในช่วง 10ปี ต่อจากนี้

ยิ่งไปกว่านั้น จำนวน ของประชากร หนุ่มสาว ที่อยากจะประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร กลับลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
ซึ่งจะส่งผล ต่อ จำนวน แรงงานในภาคการเกษตรของประเทศ

ความหมายของ Smart Farming

มีผู้ให้คำจำกัดความของ Smart Farming เอาไว้หลากหลาย แต่ที่ ผู้เขียนเห็นว่าตรงประเด็นที่สุดก็คือ
การบูรณการของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการเกษตร
หรือ แนวคิด ในการทำการเกษตรด้วยเทคโนโลยี เช่น internet of thing ,หุ่นยนต์ , โดรน , AI เพื่อเพิ่มปริมาณ,คุณภาพของผลผลิต

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัย ทำให้ smart farming เกิดขึ้นได้จริง
เช่นการ นำเครื่องจักร ระบบอัตโนมัติมาช่วยในการทำงาน , การใช้ AI ในการช่วยตัดสินใจ และคำนวณ ด้านคณิตศาสตร์
การนำเซนเซอร์ มาใช้ ในการ วิเคราะห์ , ตรวจจับ สิ่งต่างๆ ในไร่,สวน การใช้ GPS , GIS , การสำรวจระยะไกล, VRT ( เทคโนโลยี การให้ ปุ๋ย,น้ำ ยาฆ่าแมลง ตามความแตกต่างของพื้นที่ )

ความท้าทาย และอุปสรรค ของ Smart Farming ในประเทศไทย

ถึงแม้ว่า Smart Farming จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ เกษตรกรไทย เพิ่มผลผลิต,ลดต้นทุน และลดการทำลาย สิ่งแวดล้อม
แต่เกษตรกร รายย่อยส่วนใหญ่ในประเทศไทย ยังขาดเงินทุน ,ความรู้ และการเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่
การนำสิ่งใหม่ มาปรับใช้กับ วิถีการเกษตร แบบเก่า นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
ทั้ง ยังต้องมีการลงทุน กับเทคโนโลยี , เครื่องจักรต่างๆ ซึ่งอาจจะมีราคาสูง
และที่สำคัญ เกษตรกร ต้องการ เวลา และการ ฝึกอบรม เพื่อให้สามารถ ใช้เทคโนโลยีเครื่องใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงทำให้ เกษตรกรรายย่อย มักไม่กล้าเสี่ยง ที่จะลงทุน กับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย

โดยสรุป

ปัญหาต่างๆ ของภาคการเกษตร ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น การลดลงของพื้นที่ทำกินของเกษตรกรรายย่อย การขาดแคลนแรงงาน ด้านการเกษตร ในขณะ ที่ ความต้องการของโลก เพิ่มสูงขึ้นทุกปี เกษตรกรไทย จำเป็นต้องมีการปรับตัว,เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และเปิดรับเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการทำงาน
Smart Farming จะช่วย แก้ปัญหาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านอายุ ของเกษตรกร , ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
การสนับสนุนด้าน การพัฒนา เทคโนโลยีการเกษตร การคิดค้นและวิจัย จำเป็นต้องเกิดขึ้น ทั้งจาก ภาครัฐและเอกชน

ถ้าอ่านแล้วได้ความรู้ ก็อย่าลืมแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกันด้วยล่ะ!

เพิ่มเพื่อน

ใส่ความเห็น

error: Content is protected !!