เมษายน 26, 2024

Blog

ไตรโคเดอร์มา ข้อเสีย และข้อควรระวังก่อนการใช้งาน

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

ไตรโคเดอร์มานั้น คือ ชีวภัณฑ์ ที่มีประโยชน์ มากมาย ในการเพาะปลูก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี ข้อเสีย หรือข้อจำกัดในการใช้เลย และนี่คือ ข้อควรระวัง บางประการในการใช้ เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา

1 ไม่สามารถใช้กับเห็ด

เนื่องจาก ไตรโคเดอร์มา มีประสิทธิภาพสูงมากในการ กำจัดเชื้อรา แต่เห็ดเองก็จัดอยู่ในกลุ่มเชื้อราเช่นกัน
ดังนั้น สำหรับ ผู้ที่เพาะเลี้ยงเห็ด จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคในเห็ด

2 ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีที่มีฤทธิ์ในการควบคุมเชื้อรา

และเนื่องจาก ตัวไตรโคเดอร์มาเอง ก็เป็นเชื้อรา จึงไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมี ที่มีฤทธิ์กำจัดเชื้อรา เพราะจะทำให้ ไตรโคเดอร์มาไม่มีประสิทธิภาพ

3 ข้อจำกัดด้านการใช้งาน ของไตรโคเดอร์มาเชื้อสด

สำหรับ เชื้อสด หลังจาก เพาะแล้ว ควรใช้ให้หมดในวันนั้น ถ้าใช้ไม่หมด ควรเก็บใส่ตู้เย็น เพราะ หากปล่อยทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติ จะทำให้เชื้อเติบโตจนแก่ และเสื่อมประสิทธิภาพ

4 ข้อจำกัดด้านระยะเวลา ที่ควรใช้งาน

ไม่ควร ฉีดพ่น ไตรโคเดอร์มา ในช่วงระยะเวลา ที่มีแสงแดดจัด ควร ฉีดในช่วง ที่มีแสงแดดเล็กน้อย เช่น เช้าตรู่ หรือ ก่อนพลบค่ำ เพราะแสงแดดจัด จะสามารถทำลาย สปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาได้

พูดถึง ไตรโคเดอร์มา ข้อเสีย ของมันไปแล้ว ก็ควรจะพูดถึงประโยชน์ด้วย
โรคต่างๆ ที่ ไตรโคเดอร์มา สามารถ รักษา หรือ ควบคุมได้ก็ได้แก่

โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

สามารถใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา ผสมกับฝุ่นแดง และน้ำเปล่า แล้วนำไปทาบริเวณแผลของต้นทุเรียน เพื่อลดความรุนแรงของโรค

โรคเน่าผักชี

อีก 1 โรคน่าปวดหัวที่เกิดจากเชื้อ ไฟทอปธอร่า ทำให้เมล็ดไม่งอก หรืองอกเป็นต้นอ่อนแล้วตาย สังเกตได้จากแผลบริเวณโคนต้น สามารถป้องกันได้ด้วยการนำเมล็ดผักชี ไปแช่ในน้ำ ผสมไตรโคเดอร์มา ก่อนนำไปปลูก

โรคโคนเน่าในมะเขือเทศ

เกิดจาก เชื้อรา ฟูซาเรียม เข้าทำลาย ทำให้มะเขือเทศหยุดการเจริญเติบโต เหี่ยวเฉา ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แล้วก็จะค่อยๆกระจายลามไปเรื่อยๆ จนต้นมะเขือเทศตายในที่สุด ป้องกันด้วยการ ผสมไตรโคเดอร์มากับน้ำเปล่า แล้วฉีดพ่นเป็นประจำ

โรคโคนเน่าในถั่ว

โดยจะมี เส้นใยสีขาวซึ่งเป็นเชื้อราขึ้นปกคลุม จากนั้นจะค่อยๆลาม จนจากสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ
สามารถป้องกันได้ด้วย ไตรโคเดอร์มาผสมกับน้ำเปล่า แล้วฉีดพ่น เป็นประจำ

โรคแอนแทรคโนสในพริก

โดย ผลพริก จะกลายเป็นแผล หรือเกิดจุดช้ำ เป็นแอ่ง เป็นได้ตั้งแต่ จุดเล็กๆ ไปจนถึง กว้างเต็มผลพริก ต่อมาแผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลหรือดำ พร้อมทั้งเกิด สปอร์เป็นจุดสีเหลืองเป็นวงๆ ซ้อนกัน ควบคุมได้ด้วยการ ใช้ไตรโคเดอร์มา ผสมกับน้ำ แล้วฉีดพ่นบริเวณ พุ่มเป็นประจำ

ยังมี เชื้อราและโรคในพืชอีกมาก ที่ป้องกันได้ด้วยไตรโคเดอร์มา ที่สำคัญ เจ้าชีวภัณฑ์ สารพัดประโยชน์นี้ ใช้ได้กับ ต้นไม้ทุกชนิด ไม่เฉพาะ แต่เพียง ไม้ผลเท่านั้น ไม้ดอก ไม้ประดับ ใช้ได้หมด
กันไว้ดีกว่าแก้นะ

สนใจ สั่งซื้อ ไตรโคเดอร์มา โทร 095-5419953
หรือ แอดไลน์ @luckyworm

เพิ่มเพื่อน

ใส่ความเห็น

error: Content is protected !!