เมษายน 19, 2024

Blog

10 โรคข้าวที่สำคัญ ในปัจจุบัน ที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตข้าว

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

“ข้าว” เป็นธัญญาหารหลักของมนุษย์ ข้าวเป็นพืชสายพันธุ์เดียวกับหญ้า และถือว่าเป็นหญ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ข้าวเป็นพืชที่มีความหลากหลาย ทางชีวภาพ สามารถปลูกขึ้นได้ง่าย มนุษย์เริ่มกินข้าว ตั้งแต่เมื่อ 16,000 ปีก่อน
สำหรับในประเทศไทย ข้าว เป็นอาหารประจำชาติ ที่คนไทยกินกันทุกครัวเรือน จัดเป็นพืชที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
ต่อวิถีชีวิต และ เศรษฐกิจของประเทศ

ข้าวเอง ก็มีโรค ที่เกิดกับข้าวอยู่หลายชนิด โรคข้าว เกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ 1 เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่นพวกเชื้อโรค เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย ไส้เดือนฝอย ไฟโตพลาสมา และ 2 เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่นสิ่งแวดล้อม อุณหภูมิ สภาพดินฟ้าอากาศ การขาดธาตุอาหาร พิษจากสารเคมี เป็นต้น โดยโรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต จะสามารถถ่ายทอดและแพร่กระจายได้ ในขณะที่โรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต
จะไม่แพร่กระจาย

ในบทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำ โรคข้าวที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เพื่อให้ ผู้ปลูกหรือผู้ที่สนใจจะปลูกข้าว จะได้มีความรู้ความเข้าใจในการ ดูแลรักษา ผลผลิตข้าวได้อย่างถูกต้อง

1 โรคไหม้ในข้าว ( Rise blast disease)

สาเหตุ : เชื้อราในกลุ่มแอสโคมายซิส
โรคไหม้ในข้าว จะแสดงอาการใน 2 ระยะ คือระยะกล้า โดยใบจะมีแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาตรงกลาง
และระยะไหม้คอรวง ถ้าข้าวพึ่งให้รวง เมล็ดจะลีบหมด ถ้าเป็นโรคตอนใกล้เก็บเกี่ยว จะมีแผลสีน้ำตาลที่คอรวง
ทำให้รวงข้าวหักเสียหาย

2 โรคกล้าเน่าในกระบะเพาะ

สาเหตุ: เกิดจากเชื้อได้หลายชนิด เช่น Curvularia lunata, Fusarium incarnatum , Bipolaris oryzae
เกิดจากกระบะเพาะไม่สะอาด มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคเชื้อรา อยู่ แล้วผู้ปลูกเอาไปใช้เพาะต้นกล้า
โดยจะพบเมล็ดข้าวบางส่วนที่ไม่งอกและมีเส้นยาของเชื้อราปกคลุม หรือกล้าในกระบะเพาะมีอาการ
เน่าตายเป็นหย่อมๆ

3 โรคใบจุดสีน้ำตาลในข้าว ( Brown spot )

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Bipolaris oryzae
อาการจะเป็นจุดสีน้ำตาลที่บริเวณใบและลุกลามขยายวงจากด้านในไปด้านนอก ที่บริเวณใจกลางแผ
จะเห็นเป็นจุดสีเทาขาว หรือสปอร์ของเชื้อรา โรคนี้จะทำให้ข้าว
สังเคราะห์แสงได้น้อยลง การเจริญเติบโตของข้าวก็จะลดลงไปด้วย

4 โรคกาบใบแห้ง ( Sheat blight )

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani
โรคนี้สามารถพบได้ตั้งแต่ระยะข้าวแตกกอ จนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งข้าวแตกกอมากเท่าใด ข้าวจะเบียดเสียด
กันมากขึ้น โรคก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น แผลจะมีสีเขียวปนเทาตามกาบใบ บริเวณใกล้ระดับน้ำ และลุกลามขึ้นถึงใบข้าว

5 โรค ถอดฝักดาบ ( Bakanae disease )

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Fusarium fujikuroi

ลักษณะอาการ ต้นข้าวจะเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื่องจากบริเวณข้อใกล้รากถูกเชื้อราทำลาย ท่ออาหารได้รับความเสียหาย ทำให้ขาดธาตุอาหาร และทำให้ต้นข้าวมีความสูงที่ผิดปกติ

6 โรค ดอกกระถินในข้าว

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Ustilaginoidea virens
เชืัอราชนิดนี้ จะเข้าทำลายข้าวในระยะที่เริ่มออกดอกเมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูง เช่นมีฝนหรือน้ำค้างมาก
ในระยะแรก เชื้อราจะเป็นกลุ่มก้อนขนาดเล็กสีเหลือง มีเยื่อหุ้มอยู่ระหว่างเปลือกเมล็ดข้าว ต่อมาจะมีขนาดใหญ่ขึ้น
จนคลุมเมล็ดข้าวทั้งเมล็ด

7 โรคขอบใบแห้ง

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomon as oryzae

อาการจะเริ่มที่ขอบใบตามชื่อโรค โดยจะเห็นเป็นปุ่มสีเหลืองๆ ที่ขอบใบเข้าสู่กลางใบ และเป็นน้ำเยิ้มสีเหลืองๆออกมา

8 โรคใบขีดโปร่งแสงในข้าว

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomon as oryzae

เป็นได้ตั้งแต่ระยะข้าวแตกกอจนถึงออกรวง อาการเริ่มแรก จะเป็นแผลช้ำเป็นขีดยาวขนานไปตามความยาวเส้นใบ ต่อมาจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือส้ม เมื่อแผลขยายรวมกัน ก็จะกลายเป็นแผลใหญ่ และพบแบคทีเรียในรูปหยดน้ำสีเหลือง คล้ายยางสน ปรากฎอยู่บนแผล

9 โรคใบแถบแดงในข้าว

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Microbacterium sp.

อาการจะเป็นจุดสีเหลืองกลมรูปไข่ และขยายไปจนถึงปลายใบ เมื่อเวลาผ่านไป จากสีเหลืองจะกลายเป็นสีส้ม
หากอาการรุนแรงมาก ก็อาจจะแห้งตายทั้งใบ

10 โรคใบสีส้ม

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส Rice tungro bacilliform virus และ Rice tungro spherical virus
โรคนี้เกิดได้ทั้งระยะกล้า ระยะแตกกอ ตั้งท้อง ถ้าเกิดขึ้นในระยะที่ต้นข้าวยังอ่อนอยู่ จะมีความรุนแรงมาก
เนื่องจากใบไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ อาการของโรคนี้ที่สังเกต ได้ง่ายก็คือ เริ่มเป็นสีส้มตั้งแต่ปลายใบ
เข้าหาโคนใบ

กำลังมองหา ตัวช่วยดีๆ ในการป้องกัน โรคข้าวอยู่ รึเปล่า? สั่งซื้อได้ที่นี่เลย
ที่ร้าน lucky worm เรามีทั้ง ชีวภัณฑ์ ออแกนิค และเคมี ที่ใช้ป้องกันโรคพืช
เรามีใบอนุญาติขาย เคมีเกษตร ถูกต้องตามกฎหมาย ออกโดย กรมวิชาการเกษตร

ชีวภัณฑ์

สารเคมีรักษาโรคพืช

หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ

เพิ่มเพื่อน

error: Content is protected !!